Day2-4 เส้นทางการปีนขึ้น “ภูเขาฟูจิ” จากสถานีภูเขาฟูจิที่ 5 ไปจนถึง สถานีภูเขาฟูจิที่ 7 พร้อมชมวิวที่สวยงาม

ROUND THE C・H・I

ของเราคือ ริวีวการท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง

ติดตามรีวิวของแต่ละวันในทริป

พร้อมตารางการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และ Pass ต่างๆ

Day2-4 เส้นทางการปีนขึ้น “ภูเขาฟูจิ” จากสถานีภูเขาฟูจิที่ 5 ไปจนถึง สถานีภูเขาฟูจิที่ 7 พร้อมชมวิวที่สวยงาม

TOKYO-FUJI-KAWAGUCHIKO-TOKYO

จากความเดิมตอนที่แล้ว ICHIGO-CHAN ได้ทานอาหารกลางวันบริเวณหน้าทางขึ้นภูเขาฟูจิเส้นซูบารุสถานีที่ 5 และได้เตรียมความพร้อมครั้งสุดท้ายก่อนออกเดินทางเรียบร้อยแล้ว

ตอนนี้ก็ได้เวลาปีนขึ้นภูเขาฟูจิกันแล้วค่ะ เส้นทางในช่วงแรกจะเป็นการเดินเขาแบบสบายๆ ทางเดินสะดวก และเมื่อเลยผ่านสถานีที่ 6 ไปก็จะเริ่มเป็นทางปีนเขามากขึ้น และเริ่มถึงบริเวณสถานีที่ 7 ก็จะเป็นทางชันเรียบหน้าผาไปเรื่อยๆ เป็นการปีนเขาที่ทั้งสนุกและเหนื่อยมากพอสมควร เมื่อขึ้นมาถึงสถานีที่ 7 แล้วก็จะสามารถชมวิวที่สวยงามได้จากระเบียงที่พักที่มีมากถึง 6 จุด จนลืมความเหนื่อยไปได้เลยค่ะ

ครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ ปีนจาก จุดเริ่มต้นการปีนภูเขาฟูจิ สถานีที่ 5 ไปจนถึง สถานีภูเขาฟูจิที่ 7 พร้อมชมวิวที่สวยงามของบริเวณโดยรอบ ไปดูกันเลย

ตอนนี้เราก็เริ่มออกเดินทางจาก สถานีภูเขาฟูจิเส้นทางซูบารุที่ 5 กันแล้ว จากตรงนี้ไปจนถึง “อิซุมิ กาทากิ”「IZUMIGATAKI」จะเป็นทางเดินเรียบไม่ลาดชันเป็นระยะทางประมาณ 1.4km นอกจากนักปีนเขาต่างๆ แล้วเราจะเห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มครอบครัวอยู่บริเวณนี้

และด้านซ้ายมือจะเป็นวิวป่าและทะเลสาบยามานากะ และบ้านเมืองโดยรอบ ซึ่งเรียกวิวนี้ว่า「อาโอกิกาฮาระ AOKIGAHARA」เดินไปตามทางเดินสบายๆ ไปพร้อมกับชมวิวที่สวยงามก็รู้สึกเพลินมากๆ…….

เมื่อเดินจากจุดเริ่มต้นมาประมาณ 1.4km แล้วเราก็จะมาถึงจุดที่เรียกว่า “อิซุมิ กาทากิ”「IZUMIGATAKI」 จากจุดนี้จะเป็นจุดที่แยกเป็น 2 เส้นทางระหว่าง「โยชิดะกุจิ สถานีที่ 5」และ「ยอดภูเขาไฟฟูจิ」ซึ่งป้ายอาจสังเกตุยากเล็กน้อย ทำให้บางคนเดินผิดทางกลับไปทาง「โยชิดะกุจิ สถานีที่ 5」เพราะฉะนั้นต้องสังเกตุให้ดีและเดินไปทาง「ยอดภูเขาไฟฟูจิ」นะคะ

และเส้นทางจาก “อิซุมิ กาทากิ” IZUMIGATAKI จะเป็นเส้นทางลาดชัน ทั้งสองฝั่งข้างทาง จะเป็นวิวต้นสน สวยงาม ไม่ว่าต้นไหนๆ ก็มีอายุกว่าหลายร้อยปี ทั้งความหนาของลำต้น และการแผ่รากไม้ ดูยิ่งใหญ่น่าตื่นตาจนลืมความเหนื่อยไปเลยค่ะ

และเมื่อเดินไปซักพักก็จะเป็นทางเดินแบบปูด้วยฟิน และด้วยความที่หินนี้เป็นเส้นทางการปีนเขาของนักท่องเที่ยวและนักปีนเขาจำนวนมากทำให้หินมีความมนและลื่น เป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะฉะนั้นหากเป็นวันที่ฝนตกหรือพื้นเปียกจากหมอก ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเลยนะคะ

และเมื่อเดินเลยเส้นทางพื้นหินไปก็จะเจอกับอุโมงค์แปลกๆ อุโมงค์นี้มีไว้เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวและนักปีนเขาจากอุบัติเหตุหินถล่ม เนื่องจากจุดนี้เป็นจุดที่ชันเป็นพิเศษทำให้มีหินกลิ้งลงมาจากภูเขาอยู่บ่อยๆ ซึ่งถึงแม้ว่าอุโมงค์จะมีเพียงที่นี่จุดเดียว แต่อุบัตเหตุหินถล่ม หรือหินกลิ้งจากภูเขาก็มีโอกาสเกิดขึ้นที่จุดอื่นเช่นกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการอุบัติเหตุเหล่านั้นสามารถป้องกันได้โดย…..

เมื่อเดินผ่านอุโมงค์ไปก็จะเดินทางมาถึงสถานีที่ 6 ใช้เวลาเดินมาจากจุดเริ่มต้นประมาณอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ซึ่งที่สถานีภูเขาไฟที่ 6 จะเป็นจุดที่มี「ศูนย์ให้คำแนะนำการป้องกันภัยภูเขาฟูจิ」ที่มีการแจกแผนที่สำหรับผู้ปีนเขา หรือมีจุดยืมหมวกกันน็อค ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่สวมหมวกกันน็อคด้วยเหตุผลที่ว่า “หนัก” แต่ยังไงก็สามารถยืมหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยได้ที่นี่นะคะ ซึ่งการยืมหมวกกันน็อคสามารถยืมได้โดยวางเงินประกัน 2000 เยนตอนยืม และจะได้เงินคืนทั้งหมดเมื่อนำหมวกกันน็อคมาคืน เพราะฉะนั้นถือว่าสามารถยืมได้ฟรีเลยค่ะ หมวกกันน็อคจะเบากว่าที่คิดไว้มากๆ

เมื่อยืมหมวกกันน็อคแล้ว แนะนำว่าให้ทำธุระเข้าห้องน้ำที่ข้างๆ ศูนย์ฯ เอาไว้ให้เรียบร้อย เพราะว่าจะไม่มีห้องน้ำระหว่างทางไปถึงสถานีที่ 7 เลยค่ะ

ทางจากสถานีที่ 6 เป็นต้นไปจะถูกแยกออกเป็น ทางขึ้น และทางลง ที่จุดแบ่งเลยห้องน้ำไปอีก ทั้งขึ้นคือทางด้านขวา จากตรงนี้ไปถึงยอดเขาจะเป็นระยะทางประมาณ 5.2km ซึ่งระยะทางจากจุดเริ่มต้นภูเขาฟูจิเส้นทางซูบารุสถานีที่ 5 มาจนถึงที่นี่เป็นระยะทางกว่า 7km แล้ว โห! มาได้เยอะแล้วเหมือนกันนะเนี่ย!? หลายคนอาจจะคิดแบบนี้ใช่ไหมคะ…….แต่เส้นทางต่อจากนี้จะเข้าสู่เส้นทางปีนเขาที่แท้จริงแล้วค่ะ

โดยปกติแล้วระยะทางจากจุดเริ่มต้น สถานีภูเขาฟูจิเส้นทางซูบารุที่ 5 ไปจนถึงยอดเขาจะใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง ไม่นับเวลาที่พัก หากเป็นมือใหม่ก็จะใช้เวลามากขึ้นไปอีกประมาณ 20%

สถานีที่ 5 -สถานีที่ 6:60 นาที

สถานีที่ 6-สถานีที่ 7:60 นาที

ทางเข้าสถานีที่ 7-สถานีที่ 8 :100 นาที

สถานีที่ 8-สถานีที่ 8 หลัก:80 นาที

สถานีที่ 8 หลัก-ยอดเขา :80 นาที

รวมแล้วเป็น 380 นาที(6 ชั่วโมง 20 นาที)เป็นเวลาที่ใช้โดยประมาณ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการปีนเขาก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการพักของแต่ละคน หรือ หากเป็นผู้ที่ชำนาญการปีนเขาและปีนมาหลายรอบแล้วก็อาจใช้เวลาไม่ถึง 5 ชั่วโมง หรือมือใหม่อาจจะใช้เวลามากถึง 10 ชั่วโมงค่ะ

ตั้งแต่สถานีที่ 6 เป็นต้นไปจะเป็นจุดที่ไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้เหมือนภูมิอากาศแบบทุนดราที่ ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เป็นจุดที่มีต้นไม้เตี้ยๆ อยู่เล็กน้อย ขี้เถ้าภูเขาไฟ และหินก้อนที่เรียงไปตามทางที่คดเคี้ยว

และภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายจากจุดที่เดินจากสถานีที่ 6 มาเพียง 5 นาทีเท่านั้น จะเห็นได้ว่าทางชันมากจนสามารถมองตึกสถานีที่ 6 ได้จากมุมสูงเลยค่ะ

และเราจะมาแนะนำเคล็ดลับดีๆ เล็กๆ น้อยๆ ในการปีนไปสู่ยอดเขาภูเขาฟูจิมาให้เพื่อนๆ ค่ะ

จากจุดสถานีที่ 6 นั้นคนส่วนใหญ่จะยังมีพลังเหลืออยู่ บางคนถึงกับวิ่งขึ้นกันเลยทีเดียว แต่แนะนำว่าอย่ารีบเดินตามความเร็วของคนอื่นค่ะ เพราะว่าจากจุดนี้จะเป็นจุดที่อยู่บนเขาสูงปริมาณออกซิเจนน้อย และลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามระดับความสูง ทำให้ร่างกายจะใช้พลังงานมากกว่าตอนอยู่บนพื้นดิน บางคนถึงกับเป็นโรคจากขึ้นที่สูง จึงอยากแนะนำให้ค่อยๆ เดินตามระดับความเร็วที่ตัวเองสามารถรับได้ ตามสภาพร่างกายของตนเอง เดินก้าวเล็กๆ ขึ้นบันไดไปทีละขั้น การค่อยๆ เดินขึ้นไปที่ก็จะส่งผลให้สามารถใช้ระยะเวลาในการเดินได้เร็วขึ้นไปด้วย ซึ่งระหว่างทางเดินจะมีหินอยู่มากมายสามารถนั่งพักตามหินระหว่างทางไปด้วยก็ได้ค่ะ

เดินไปตามทางคดเคี้ยวไปเรื่อยๆ เมื่อมองขึ้นไปบนเขาแล้วก็เห็นตึกสถานีที่ 7 อยู่ตรงหน้า แสดงว่าเราใกล้ถึงแล้วค่ะ จากเมื่อกี้ยังไม่มีเมฆเลยซักนิด แต่อยู่ดีๆ ฝนก็ตกเลยค่ะ ICHIGO-CHAN ก็รีบเตรียมเสื้อกันฝนมาใส่ทันพอดี สถาพอากาศบนภูเขาจะแปรปรวนอย่างหนักเพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมเสื้อกันฝนมาเผื่อไว้ด้วยนะคะ

เดินขึ้นไปตามทางคดเคี้ยวไปก็จะมาถึงจุดหินผา「ชิชิอิวะ SHISHI IWA」 เมื่อผ่านบริเวณนี้ไปก็จะเป็นสถานีที่ 7 เลยค่ะ ซึ่ง “ชิชิอิวะ” จะเป็นจุดสุดท้ายของเส้นทางที่ลำบากที่สุดของสถานีที่ 6 ค่ะ นอกจากการเดินแล้ว เราสามารถนั่ง “ม้า” จากจุดเริ่มต้นที่สถานีที่ 5 มาจนถึง “ชิชิอิวะ” นี้ได้ด้วยค่ะ(ขาเดียว 15000 เยน)จากตรงนี้ไปจนถึงสถานีที่ 8 จะเป็นเส้นทางไต่ขึ้นหินผา บริเวณหินผาแนะนำให้ค่อยๆ เดินก้าวเล็กๆ หาจุดยึดเท้าให้ดี ระวังทุกๆ ก้าวเดินเลยค่ะ ส่วนไม้ค้ำปีนเขาก็สามารถเก็บเข้ากระเป๋าไปได้เลยค่ะ เพราะหากพลาดทำไม้หล่นไปก็จะกลิ้งตกลงไปด้านล่าง อาจจะโดนคนอื่นได้ค่ะ

และเมื่อขึ้นผ่านผาหินชิชิอิวะ มาแล้วก็จะมาถึงที่พักชื่อว่า “ฮานาโกยะ”『HANAGOYA』

เป็นจุดที่อยู่บนความสูง 2700m ซึ่งสถานีที่ 5 มีความสูง 2305m เพราะฉะนั้นถือว่าเราขึ้นมาแล้วประมาณ 400m เลยค่ะ จากจุดเริ่มต้นที่สถานีที่ 5 มาจนถึงจุดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง พักซักหน่อยก็ดีค่ะ ซึ่งที่ “ฮานาโกยะ” จะเป็นที่พักที่สามารถค้างคืนได้ และมีร้านขายของที่มีทั้ง ราเม็ง หรืออุดง ราคา 700 เยน ส่วนซอฟต์ครีมแต่ละรสจะอยู่ที่ 400 เยน

เส้นทางระหว่างสถานีที่ 7 ไปจนถึงทางเข้าสถานีที่ 8 จะเป็นทางผาหินชัน เป็นการตะกร่ายขึ้นผาหินไปทีละเล็กน้อย “สถานีที่ 7” หนึ่งในเส้นทางภูเขาฟูจิที่ลำบากนี้จะมีที่พักอยู่ถึง 6 จุด แต่ละที่จะอยู่ห่างกันโดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 -15 นาที เพราะฉะนั้นสามารถหยุดพักในแต่ละจุดไปได้เรื่อยๆ เลยค่ะ

และนี้ก็คือที่พัก “โทโมเอะคัง TOMOEKAN” เป็นที่พักจุดที่ 2 จากที่พักทั้งหมด 6 จุดของสถานีภูเขาฟูจิที่ 7 ซึ่ง 『โทโมเอะคัง TOMOEKAN』  จะมีอยู่ 2 ที่คือที่สถานีที่ 7 และสถานีที่ 8 หลักที่ความสูง 3400m โดย “โทโมเอะคัง TOMOEKAN” ที่สถานที่ 7 นี้ถือได้ว่าเป็นที่พักที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ภายในกระท่อมที่พักนี้จะมีทั้ง ห้องพักขนาดใหญ่ และมีห้องพักแยกเป็นห้องส่วนตัวเช่นกัน

ICHIGO-CHAN จะพักเอาแรงที่นี้ซักหน่อย ซื้อน้ำมสาลาจาย อุ่นๆ(700 เยน)และขนมปังครีม(250 เยน)มาทานพร้อมกับเพลิดเพลินกับวิวสวยงามบริเวณรอบๆ

เส้นทางถัดจาก “โทโมเอะคัง TOMOEKAN” เป็นเส้นทางผาหินต่อเนื่องไปอีกเช่นกัน 「ฮานาโกยะ」ที่อยู่บนความสูง 2700m ขึ้นมาถึงที่พักจุดที่ 3 ที่「KAMAISHIKAN」แล้วก็จะอยู่บนความสูง 2800m โดยที่ภายในที่พักของสถานที่ 7 ทุกที่จะมีบริการห้องน้ำครั้งละ 200 เยน และเครื่องดื่ม 400 เยน ให้บริการทุกจุด เมื่อเทียบแล้วราคาสินค้าแต่ละอย่างบนเขานี้จะแพงกว่าสินค้าบนดินมากๆ แต่ในพื้นที่ๆ มีการต่อน้ำมาเฉพาะที่พักเท่านั้น ทำให้น้ำเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เลยค่ะ ไม่ต้องอั้นห้องน้ำเอาไว้เพราะต้องเสียค่าบริการนะคะ แนะนำว่าให้เข้าไปเลยดีกว่าจะได้เดินได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องกังวลอะไรเลยค่ะ

ถึงแม้ว่า “คามาอิชิคัง” KAMAISHIKAN จะเป็นที่พักที่อยู่ถัดมาใกล้กันเลย แต่ระยะทางไป “ฟูจิอิจิคัง”「FUJI ICHIKAN」จะอยู่ห่างออกไปพอสมควรค่ะ ซึ่งหากไปถึง “ฟูจิอิจิคัง” แล้วก็ถือว่าใกล้สิ้นสุดเส้นทางของ สถานีที่ 7 แล้วค่ะ และระดับความสูงก็ใกล้จะถึง 3000m แล้วด้วย

จะมีโทริอิสีแดงเป็นสัญลักษณ์เรียกว่า “โทริอิโซ”「TORIISO」เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วก็ถือว่าขึ้นมาถึง 3000m แล้วค่ะ 3000m ซึ่งผาหินก่อนถึงโทริอิ จะเป็นจุดที่ชันและลำบากที่สุดในเส้นทางสถานีที่ 7 เลยก็ว่าได้ แต่เมื่อผ่านจุดนี้ไปแล้วก็ใกล้สิ้นสุดเส้นทางสถานีที่ 7 แล้วค่ะ

เมื่อเลย “โทริอิโซ”「TORIISO」มาเล็กน้อยก็จะเป็นจุดที่พักที่ใหญ่ที่สุดของเส้นทางปีนภูเขาฟูจิ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน กับ “โทโยคัง”『TOYOKAN』

ที่มีทั้ง Wifi ฟรี ห้องพักแบบแคปซูลที่ถือว่าเป็นที่พักแปลกใหม่บนภูเขาฟูจิ สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและมีความเป็นส่วนตัวอีกด้วยค่ะ

หากพูดถึงการปีนขึ้นภูเขาฟูจิแล้วก็คงจะนึกถึงการขึ้นไปสู่ยอดเขา แต่ที่ “โทโยคัง” ในช่วงสถานีที่ 7 ก็สามารถชมวิวที่สวยงามได้ไม่แพ้กันค่ะ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  ครอบครัวพร้อมเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ก็นิยมให้สถานีที่ 7 นี้เป็นเป้าหมายในการปีนขึ้นภูเขาฟูจินั่นเองค่ะ จากจุดนี้จนถึงสถานีที่ 8 และสถานีที่ 8 หลัก จะเป็นช่วงที่โหดที่สุดของภูเขาฟูจิ ซึ่งเมื่อผ่านช่วงระยะนี้ไปได้แล้วก็ถือว่ายอดเขาฟูจิ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วค่ะ

ครั้งหน้าเราจะพาเพื่อนๆ เดินทางจากทางเข้าสถานีที่ 8 ไปจนถึงสถานีที่ 8 หลัก พร้อมเข้าพักที่「Original 8th Stn. Tomoekan」กันค่ะ ฝากติดตามด้วยนะคะ ♪

【ตารางการเดินทาง Day2-4 CLIMB TO THE TOP OF FUJI】

        Go to the top Page        

  ◀ BACK           NEXT ▶