พอเริ่มเข้าเดือนมีนาคมแล้ว ความหนาวก็จะเริ่มหายไป
ญี่ปุ่นก็เริ่มกลายเป็นฤดูใบไม้ผลิไปพร้อมกับซากุระที่กำลังจะบาน
ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงเทศกาลของญี่ปุ่น
และช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นจะเป็นช่วงดำนา
ที่ญี่ปุ่นจะมีการจัดเทศกาลต่างๆ เพื่อขอพรให้กับการเพาะปลูก อย่างธัญพืช 5 ชนิดที่สำคัญ ภาษาญี่ปุ่นคือ GOKOKU HOUJOUเช่น ข้าว หรือ ข้าวสาลี
ICHIGO-JAPAN จะมาแนะนำเทศกาลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิกันในครั้งนี้
และที่ ICHIGO-JAPANจะมาแนะนำคือเทศกาลที่อยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ โตเกียวไปจนถึงโอซาก้า
บริเวณโทไคโดและบริเวณรอบๆ เป็นที่ที่มีเทศกาลที่ถูกสืบทอดมายาวนานอยู่มากมาย
เทศกาลที่ถูกจัดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิถ้ารวมเทศกาลเล็กๆไปด้วยก็มีเป็นร้อยๆเทศกาลจนนับไม่ถ้วนเลย
วันนี้เราเลยอยากจะมาแนะนำเทศกาลสำคัญที่เป็นขนบธรรมเนียมของญี่ปุ่น คือ
- TAKAYAMA MATSURI เทศกาลทาคายาม่า(จังหวัดกิฟุ): 14-15 เดือนเมษายน
- AOI MATSURI เทศกาลอาโออิ(เกียวโต): 15 เดือนพฤษภาคม
- SANSHA MATSURI เทศกาลซันฉะ(โตเกียว): 18-20 เดือนพฤษภาคม
TAKAYAMA MATSURI เทศกาลทาคายาม่า
เทศกาลที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิและช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่「HIDA TAKAYAMA」「ฮิดะทาคายาม่า」จังหวัดกิฟุ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนไทย ก็คือ 「TAKAYAMA MATSURI เทศกาลทาคายาม่า」
เทศกาลขนาดใหญ่ของฤดูใบไม้ผลิช่วง 4 กับ 15 เดือนเมษายน นั้นจะถูกจัดขึ้นที่ 「ศาลเจ้าฮิเอะ」「HIE Shrine」
เทศกาลทาคายาม่า TAKAYAMA MATSURI เทศกาลกิออน GION MATSURIของเกียวโต และเทศกาลกลางคืนจิจิบุ CHICHIBU YOMATSURI ของจังหวัดไซตามะ ถูกเรียกรวมกันว่า 「SANDAI HIKIYAMA MATSURI」
「HIKIYAMA」「ฮิกิยามะ」คือ มิโคชิ MIKOSHI ขนาดใหญ่ที่มีล้อเหมือนในภาพ เรียกว่า 「DASHI」「ดาชิ」
ฮิดะทาคายาม่าที่อยู่ที่จังหวัดกิฟุจะเรียก 「DASHI」「ดาชิ」ว่า 「YATAI」「ยะไท」
เทศกาลจะถูกจัดขึ้นในศาลเจ้าฮิเอะในวันที่ 14 เมษายน ตั้งแต่ 10 โมงเช้าเป็นต้นไป
พิธีจะเริ่มจาก การแสดงถวายศาลเจ้า จากนั้นก็จะเริ่มปล่อยตัว「DASHI」「ดาชิ」(มิโคชิ)แต่สำหรับคนที่อยากดูพิธีที่ขึ้นชื่ออย่าง 「KARAKURI HOUNOU」แนะนำให้ไปดูที่ด้านหน้า 「TAKAYAMA JINYA」「ทาคายามะจินยะ」ไม่ใช่ที่ศาลเจ้าฮิเอะ
「DASHI」「ดาชิ」(มิโคชิ)ที่มี「KARAKURI NINGYOU」「ตุ๊กตาคาราคุริ」เข้ามา 3 คัน และว่ากันว่าตุ๊กตาคาราคุริที่เก่าแก่ที่สุดจะมีอายุมากกว่า 260 ปีเลย คือถูกทำขึ้นตั้งแต่ปี 1756 นั่นเอง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือช่วง วันที่ 14 เวลา 18:30 และช่วงเดินสายตอนเย็น「YOMATSURI」「เทศกาลกลางคืน」
ภายในงานจะมี รถดาชิ ที่เต็มไปด้วยโคมไฟที่ประดับทองคำเปลวและไม้แกะสลักสวยงามตระการตา วนรอบเมืองทาคายาม่าเป็นขนบธรรมเนียม
ผู้คนมากมายกว่า 120,000 คนเดินทางมายังเมืองเล็กๆอย่างทาคายาม่าแห่งนี้เพื่อดูความสวยงามของเทศกาลนี้
และที่อยากจะแนะนำเป็นพิเศษเลยก็คือ ช่วงเทศกาล 「TAKAYAMA MATSURI」「เทศกาลทาคายาม่า」เป็นช่วงที่ซากุระสวยที่สุดของทาคายาม่า ซึ่งตรงกับช่วงวันหยุดสงกรานต์พอดีเลยด้วย
ถ้าเป็นที่โอซาก้าหรือโตเกียวช่วงพีคของซากุระคือต้นเดือนเมษายน ทำให้ไม่สามารถดูซากุระได้ในช่วงสงกรานต์ แต่ถ้าเป็นที่ฮิดะทาคายาม่าที่มีอุณภูมิต่ำกว่าโอซาก้าหรือโตเกียวทำให้ช่วงซากุระจะช้ากว่าไปประมาณ 10 วันเลย
ความสวยงามของดอกซากุระกับศิลปะที่สวยงามของรถดาชิ ทำให้เทศกาลทาคายาม่าเป็นเทศกาลที่เหมาะกับการมาเที่ยวในช่วงวันหยุดสงการนต์มากๆ
การเดินทาง
จาก JR สถานีนาโกย่า ด้วยรถไฟด่วนพิเศษ「Wide View HIDA」มาประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาที วิ่งไปกลับวันละ 10 เที่ยว (แบบไม่ระบุที่นั่ง 5510 เยน)
หรือ นั่งรถบัสด่วนพิเศษจากสนามบินนานาชาติชูบุ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เดินรถวันละ 1 เที่ยว(4000 เยน)
- AOI MATSURI เทศกาลอาโออิ
และเทศกาลต่อไปก็คือ เทศกาลอาโออิที่จะจัดขึ้นที่เกียวโตในวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม
เทศกาลอาโออิก็เป็นหนึ่งใน SANDAI HIKIYAMA MATSURI เช่นกัน
ย้อนไปประมาณ 1200 ปีที่แล้ว เป็นเทศกาลที่คนกลุ่มหนึ่งใส่ SHOUZOKU(เครื่องแต่งกาย)ในสมัยที่เมืองหลวงของญี่ปุ่นยังอยู่ที่เกียวโต คนกลุ่มนี้เดินทางจากพระราชวังจักรพรรดิเกียวโต ไปยัง ศาลเจ้าชิโมกาโมะ SHIMOGAMO JINJA และคามิคาโมะ KAMIGAMO JINJA ที่เกียวโต
และเรียกเทศกาลกิออนในฤดูร้อน กับเทศกาลจิไดในฤดูใบไม้ผลิรวมกันเป็น เทศกาลเกียวโตซันได「KYOTO SANDAI MATSURI」
เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปยุคสมัยเฮอัน เราสามารถสัมผัสกับประสบการณ์แปลกใหม่ ซึ่งเดิมทีเทศกาลนี้เป็นเทศกาลสำหรับเหล่าขุนนาง ที่มีความสง่าและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ใน 「เทศกาลอาโออิ」
แห่ขบวนที่ประกอบไปด้วย ม้า 36 ตัว โค 4 ตัว และรถม้า 2 คัน และคนจำนวน 511 คนที่แต่งกายด้วยชุดสมัยเฮอัน เป็นแถวยาวกว่า 1 กิโล
มีที่นั่งชมในศาลเจ้าชิโมกาโมะจะเป็นแบบเสียเงิน แต่เราก็สามารถชมความสสวยงามของเทศกาลนี้ได้ที่ริมข้างทางแบบฟรีๆ เช่นกัน
ขบวนจะมี 2 รอบ ออกจากพระราชวังจักรพรรดิเกียวโตตั้งแต่ช่วงเช้า 10:30 ผ่าน เส้นมารุตะมาจิ MARUTAMACHI DOURI จากนั้นไปที่เส้นคาวาระมาจิ KAWARAMACHI DOURI และถึงที่ศาลเจ้าชิโมกาโมะเวลาเที่ยงวัน
ถ้าหากอยากถ่ายรูปให้พื้นหลังเป็นสีเขียว แนะนำว่าให้ตั้งกล้องเอาไว้โดยหันหน้าไปทางออกพระราชวังจักรพรรดิเกียวโตเลย แต่ถ้าไม่ได้ยึดติดอะไรก็อยากจะแนะนำให้ไปที่เส้นคาวาระมาจิเพราะว่าที่นี่คนจะน้อยกว่าที่อื่น น่าจะมีโอกาสถ่ายรูปสวยๆ ได้มากกว่า
ช่วงบ่ายจะออกจาก ศาลเจ้าชิโมกาโมะ เวลา 14:20 และจะถึงที่ ศาลเจ้าคามิคาโมะ ในเวลา 15:30
ซึ่งจะใช้เวลาเรียบแม่น้ำคาโมะคาวะ KAMOKAWA นานหน่อย เป็นช่วงที่สามารถถ่ายรูปได้แบบไม่ติดสิ่งก่อสร้างได้บรรยากาศแบบ1200 ปีที่แล้วเลย
นักท่องเที่ยวในช่วงบ่ายจะมีน้อยกว่าในช่วงเช้า เพราะฉะนั้นใครที่ตั้งใจจะมาถ่ายรูปแนะนำว่ามาช่วงบ่ายก็น่าจะดีกว่า
งานเทศกาลที่จัดขึ้นในสถานีท่องเที่ยวของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดนี้ มีคนมาเที่ยวชมงานกว่า 2 แสนคนเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าคนจะแออัดมาก แต่ก็คุ้มค่ากับการได้ย้อนเวลาไปสัมผัสบรรยากาศของญี่ปุ่นในยุคสมัยก่อนมากๆเลย
วิธีการเดินทาง
นั่งจาก JR สถานีเกียวโต ด้วยรถไฟใต้ดินสายนัมโบกุ KARASUMA LINE ลงที่ 「MARUTAMACHI STATION」「สถานีมารุตะมาจิ」(ราคา 260 เยน)
SANSHA MATSURI เทศกาลซันฉะ
และเทศกาลสุดท้ายที่จะมาแนะนำก็คือ เทศกาลซันฉะ ที่โตเกียว
เป็นเทศกาลที่จะจัดขึ้นตั้งแต่วันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ที่สามของเดือนพฤษภาคม แต่ละที่ในเขตอาซากุสะจะนำมิโคชิ ออกมาแห่รอบๆบริเวณวัดเซ็นโซ SENSOJI
ในขณะที่เทศกาลอาโออิเป็นเทศกาลของขุนนาง แต่เทศกาลซันฉะจะเป็นเทศกาลของชาวบ้าน
าลซันฉะ คือ พวกผู้ชายจะแบกมิโคชิเพื่อแสดงความกล้าหาญและความแข็งแรง
ซึ่งมิโคชิจะมีประมาณ 100 อันเลย
มิโคชิที่สง่างามจะถูกยกเขย่าไปมาจนแทบจะพังเลย เรียกว่าการ 「TAMAFURI」
อาจจะดูรุนแรงไปหน่อย แต่มีจุดประสงค์เพื่อ 「ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ」
และเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของเทศกาลนี้คืออีเว้นท์ 「DAIGYOURETSU」ไดเกียวเรสึ ที่แปลว่า แถวขนาดยาว
เป็นขบวน ที่มีการเป่าขลุ่ยและตีกองไปพร้อมๆ กับการลาก ดาชิที่เรียกว่า OHAYASHI YATAI โอฮายาชิ ยาไท และเต้นบินซะซาระ BINZASARA DANCE หรือ เต้นชิราซางิ SHIRASAGI DANCE เป็นการแสดงถวายศาลเจ้า ไปรอบๆวัดเซ็นโซ หรือ SENSOJI
ซึ่งในปีนี้มีแผนว่าจะจัดอีเว้นท์「DAIGYOURETSU」ไดเกียวเรสึ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 เวลา 13:00 เป็นต้นไป(หากฝนตกอาจถูกยกเลิก)
หากสามารถจองที่บริเวณ ประตูคามินาริ หรือ KAMINARIMON หน้าวัดเซ็นโซ หรือ SENSOJI ไว้ได้ก็จะสามารถเห็นดะชิหรืออีเว้นท์ได้เกือบทั้งหมด
แนะนำว่าถ้าสามารถไปวันที่ 18 ได้จะดีมากๆเลย
วิธีการเดินทาง
นั่งรถไฟใต้ดินสายมารุโนะอุจิ MARUNOUCHI SUBWAY LINE(สถานีปลายทาง ชินจุกุ/โอกิคุโบะSHINJUKU・OGIKUBO) ที่ JR สถานีโตเกียว
และเปลี่ยนรถไฟที่สถานีที่แรก คือ สถานีกินซ่า GINZA STATION ด้วยรถไฟใต้ดินสายกินซ่า GINZA SUBWAY LINE เพื่อไปยังสถานีอาซากุสะ (ราคา 200 เยน)
วันนี้เราได้แนะนำเทศกาลที่เป็นขนบธรรมเนียมของญี่ปุ่น 3 เทศกาล
เทศกาลทาคายาม่า TAKAYAMA MATSURI ที่จัดขึ้นที่ฮิดะทาคายาม่าที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตของคนไทย ซึ่งเราสามารถเพลิดเพลินกับซากุระไปพร้อมๆ กับความสง่างามของดะชิ
เทศกาลอาโออิ AOI MATSURI เทศกาลสำหรับขุนนางของเกียวโต สัมผัสบรรยากาศที่เก่าแก่ราวกับได้ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 1200 ปีก่อน
และ เทศกาลซันฉะ SANSHA MATSURI เป็นเทศกาลแบบชาวบ้านที่จะได้เห็นความกล้าหาญแข็งแรงของผู้ชาย อาซากุสะ ที่โตเกียว
ซึ่งเทศกาลเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น 「เทศกาลที่เป็นขนบธรรมเนียมของญี่ปุ่น」ซึ่งเราจะสามารถเพลิดเพลิน และได้สัมผัสบรรยากาศที่ต่างกันออกไปในแต่ละเทศกาล
ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูร้อนของญี่ปุ่นจะมีเทศกาลต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในแต่ละพื้นที่
ยังไงถ้าใครที่จะไปญี่ปุ่นก็น่าจะลองเช็คดูว่าบริเวณที่ที่เราไปมีเทศกาลอะไรบ้างรึเปล่าก็น่าจะดีนะคะ