ตอนนี้ปีพ.ศ.2561 ก็ผ่านไปแล้ว 2 ส่วน 3 และเข้าสู่เดือนกันยายนเป็นที่เรียบร้อย อากาศที่ร้อนจัดของประเทศญี่ปุ่นก็กำลังจะหมดลง เป็นช่วงเริ่มฤดูใบไม้ร่วง อุณภูมิก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ เพื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเมื่อพูดถึงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็จะต้องนึกถึง การเก็บเกี่ยวผลไม้ การชมภูเขาไฟฟูจิ หรือช่วงใบไม้เปลี่ยนสี แต่สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ 「SHOKUYOKU NO AKI」หรือ“ฤดูใบไม้ร่วงแห่งความอยากอาหาร”
ที่เป็นช่วงที่อาหารอุดมสมบูรณ์มากเป็นพิเศษ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่อุณภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นช่วงเวลาเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ และฤดูร้อนที่ร้อนระอุ เพื่อเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง ที่มีวัตถุดิบอุดมสมบูรณ์ และอาหารอร่อยๆ มากมาย
โดยครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอวัตถุดิบประจำฤดูใบไม้ร่วงกับ “วัตถุดิบจากทะเล” กันไปแล้ว วันนี้มารู้จักกับ “วัตถุดิบจากภูเขา” หรือ “อาหารป่า” ประจำฤดูใบไม้ร่วงกันบ้าง ไปดูกันเลย
เมื่อไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่พลาดไม่ได้อย่างหนึ่งเลยก็คือ“อาหารการกิน”การเพลิดเพลินไปกับอาหารญี่ปุ่นก็แตกต่างกันออกไป ทั้งการทานซูชิหรือซาชิมิจากแหล่งต้นกำเนิด การทานอาหารญี่ปุ่นที่เคยทานมาก่อน
หรือการลิ้มลองอาหารที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นอย่าง ราเม็ง หรือ หมูทอดทงคัตสึ ไหนๆ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็กำลังใกล้เข้ามาถึงแล้ว ถ้าไม่ได้ลองวัตถุดิบเฉพาะของฤดูใบไม้ร่วง ก็คงน่าเสียดายไม่น้อย
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็เป็นอีกหนึ่งการเพลิดเพลินกับอาหารญี่ปุ่นที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว โดยเฉพาะ「เห็ดมัตสึทาเกะ」「ผลไม้ฤดูใบไม้ร่วง」และ「เกาลัดญี่ปุ่น」・・・・
- “เห็ดมัตสึทาเกะ”「MATSUTAKE」
ถ้าพูดถึง “อาหารป่า” ในฤดูใบไม้ร่วงก็คงหนีไม่พ้น “เห็ดมัตสึทาเกะ” ซึ่งเป็นวัตถุดิบชั้นดีประจำฤดูใบไม้ร่วง ทั้งความเบาบางและราคาของเห็ดชนิดนี้ ทำให้เป็นวัตถุดิบที่ใครๆ ต่างหมายปอง ด้วยรสชาติที่มีความแตกต่างจากเห็ดโดยทั่วไป เป็นวัตถุดิบที่มีค่าด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น 「ไม่สามารถเพาะปลูกได้」「สามารถเก็บได้จำนวนจำกัด」ซึ่งสามารถเพลิดเพลินกับเห็ดมัตสึทาเกะได้ในช่วงเดือนกันยายน ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ถือว่าเป็นวัตถุดิบที่เป็นตัวแทนของ “รสชาติของฤดูใบไม้ร่วง” เลยทีเดียว โดยพื้นที่ที่เป็นแหล่งของเห็ดมัตสึทาเกะก็คือ เกียวโต・พื้นที่ทังโกะ ทางเหนือเฮียวโงะ・พื้นที่ทัมบะ หรือพื้นที่โทโนของทางตะวันออกจังหวัดกิฟุ และ จังหวัดนางาโนะ เป็นต้น
ซึ่งเสนห์ที่ทำให้ผู้คนหลงรักเห็ดมัตสึทาเกะนั่นก็คือ “ความหอม” เห็ดมัตสึทาเกะที่เป็นวัตถุดิบชั้นหรูนี้ หากเป็นเห็ดจากประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ที่ อันละ 3000 เยนไปจนถึง หลายหมื่นเยนเลยทีเดียว(ขึ้นอยู่กับเกรดและพื้นที่)ถึงแม้ว่าเมื่อเทียบกับราคาเห็ดหอม หรือเห็ดนางรมหลวง โดยทั่วไปแล้ว จะมีราคาแพงกว่ามากถึงหลายสิบเท่า แต่ผู้คนก็ยอมที่จะสละเงินในกระเป๋าตัวเองเพื่อจะได้ลิ้มลองรสชาติความหอมของเห็ดมัตสึทาเกะนี้ ซึ่งวิธีการปรุงอาหารที่สามารถดึงรสชาติความหอมของเห็ดมัตสึทาเกะออกมาได้อย่างเต็มที่ก็คือการปรุงอาหารที่เรียกว่า「DOBIN MUSHI(土瓶蒸し)」(ตามรูปภาพบน) หากเป็นที่ไทยก็จะนิยมรับประทานด้วยการ「ย่างเนย」ด้วยการย่างเห็ดให้หอมจนได้ที่แล้วจึงทาเนยรับประทาน ซึ่งในบางที่ก็มีการรับประทานกับสเต็กเนื้อแบรนด์ดังอย่างเนื้อโกเบ หรือเนื้อมัตสึซากะอีกด้วย
- “ผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง”
เมื่อเทียบกับเห็ดมัตสึทาเกะที่มีราคาสูงแล้ว “ผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง” เป็นวัตถุดิบในฤดูใบไม้ร่วงที่ทุกคนสามารถเพลิดเพลินได้อย่างเต็มที่ ทั้งองุ่นรสหวานช่ำที่มีชื่อว่า「เคียวโฮะ」หรือ สาลี่ ที่กรอบหวาน อีกทั้งยังมี ส้ม และ ลูกพลับ ของญี่ปุ่น เป็นต้น
ซึ่งท่านสามารถลิ้มลองผลไม้ตามฤดูกาลได้ตาม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า หรือตลาด โดยทั่วไป แต่ที่อยากจะแนะนำเป็นพิเศษเลยก็คือกิจกรรม “เก็บผลไม้” จากสวน ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนอาจจะคุ้นเคยกับ「การเก็บสตอเบอรี่」ในช่วงฤดูหนาวไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ มากกว่า แต่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็เป็นช่วงที่สามารถเพลิดเพลินกับการเก็บผลไม้ได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ทั้งจังหวัดยามากาตะใกล้ภูเขาฟูจิ จังหวัดชิซุโอกะ จังหวัดฟูกุโอกะ หรือจังหวัดนางาโนะที่มีเส้นทางอัลไพน์ หรือจังหวัดกิฟุที่มี “ฮิดะทาคายาม่า” “ชิราคาวาโกะ” นอกจากนี้ยังมีที่จังหวัดชิงะ ใกล้เกียวโตและโอซาก้า และที่สำคัญคือที่ จังหวัดวาคายาม่า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ประมาณ 1500-3000 เยนต่อชั่วโมงแบบทานได้ไม่อั้น สามารถเพลิดเพลินกับผลไม้ที่สดใหม่และอร่อยจากสวนได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถค้นหาข้อมูลด้วยการค้นหาจากคำว่า「Fruit Picking(ชื่อสถานที่ เช่น Fujisan)」หรือสอบถามได้ทางจุดสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ เป็นต้น
- “เกาลัดญี่ปุ่น”
“เกาลัด” ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ขึ้นชื่อในฤดูใบไม้ร่วง สามารถพบเห็นเกาลัดได้ทั่วไปในป่าเขาที่มีอยู่มากมายในประเทศญี่ปุ่น นอกจากรสชาติแล้ว ยังสามารถเพลิดเพลินกับการเก็บเกาลัดที่ตกอยู่ตามพื้นในภูเขาและนำกลับไปปรุงรสต่างๆ ได้กับกิจกรรม「เก็บเกาลัด」ที่เป็นหนึ่งกิจกรรมที่โดดเด่นของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งในประเทศไทยโดยทั่วไปแล้วจะรับประทานเกาลัดจาก「TENSHINAMAGURI(天津甘栗)」เกาลัดคั่ว หรือ เกาลัดบรรจุถุง แต่ประเทศญี่ปุ่นที่สามารถหาเกาลัดได้ทั่วไปนั้น จะมีวิธีการที่แตกต่าง และหลากหลายรูปแบบ อย่าง “ข้าวเกาลัด”「KURI GOHAN」คือ การหุงข้าวด้วยเกาลัดหวาน หรือ โดยเฉพาะ “ขนมญี่ปุ่น” อย่าง “คุริมาโระ(栗まろ)” ของร้าน “สึรุยะ โยชิโนะบุ”「TSURUYA YOSHINOBU」ที่เป็นร้านขนมเก่าแก่ของเกียวโตที่จำหน่ายเฉพาะช่วงเดือนกันยายน ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนเท่านั้น หรือ ขนม「คุริเก็กกะ KURIGEKKA(栗月下)」ของร้าน “ทาเนะยะ”「TANEYA(たねや)」ที่เป็นร้านขนมยอดนิยมของจังหวัดชิงะ วางจำหน่ายเฉพาะช่วงเดือนกันยายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างเป็นการผสมผสานกันระหว่าง เกาลัดที่อร่อย และน้ำตาลพิเศษชนิดหนึ่ง กับ “วาซาบง”「WASANBON(和三盆)」ที่ถูกใช้เฉพาะขนมหวานชั้นดีเท่านั้น ให้รสชาติที่หวานกำลังพอดี เป็นรสชาติที่ละเอียดอ่อนในแบบของญี่ปุ่นนั่นเอง
“ฤดูใบไม้ร่วง” เป็นช่วงฤดูที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ เป็นยังไงกันบ้างคะกับวัตถุดิบประจำฤดูใบไม้ร่วง「อาหารป่า」ทั้ง 3 ชนิด ที่เราได้แนะนำทุกท่านไปในวันนี้ ซึ่งหากพูดถึงวัตถุดิบในฤดูใบไม้ร่วงก็ยังมี “อาหารป่า” ชนิดอื่นๆ อีกมากมายทั้ง 「โซบะ」หรือ「เห็ด」นอกจากนี้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงไปจนถึงช่วงฤดูหนาว ยังเป็นช่วงของการล่าสัตว์ป่า(เป็ด・กวาง・หมูป่า จำพวกเนื้อที่ไม่ใช่เนื้อที่รับประทานกันทั่วไปอย่างเนื้อวัว หมู หรือไก่)เป็นต้น ยังไงก็ลองมาสัมผัสบรรยากาศ และ “วัตถุดิบประจำฤดูใบไม้ร่วง” กันดูนะคะ แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า♪