รู้ลึกศาลเจ้าญี่ปุ่น! ความแตกต่างของศาลเจ้าญี่ปุ่น

09 Jul 2020
1528

หนึ่งในสิ่งที่แสดงความเป็นญี่ปุ่นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ “ศาลเจ้า” โดยในประเทศญี่ปุ่นมีศาลเจ้าอยู่มากถึง 8 หมื่นแห่ง อย่างเช่น “ศาลเจ้าฟุชิมิ อินาริ”「FUSHIMI INARI TAISHA(伏見稲荷大社)」ที่มีเสาโทริอิสีแดงเรียงรายอยู่มากมาย หรือ “ศาลเจ้าอิเสะ” ชื่อดัง มีตั้งแต่ศาลเจ้าใหญ่ที่ลงท้ายด้วยคำว่า “ไทฉะ”「大社:TAISHA」ไปจนถึงศาลเจ้าเล็กๆ ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งแต่ละศาลเจ้าก็จะมีลักษณะ และความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป

ในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ศาลเจ้า” ชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น และความโดดเด่นในแต่ละศาลเจ้ากันเลย

“ศาลเจ้า” นั้นเป็นสิ่งที่เกิดจาก “ลิทธิชินโต” ในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเทพเจ้าในลัทธิชินโต โดยเทพเจ้าในลิทธิชินโตก็จะมีอยู่มากมายเรียกว่า “ยาโอะโยโรซุ”「YAOYOROZU(八百万)」(ที่แปลว่า แปดล้าน) ซึ่งเดิมทีเทพเจ้าจะสิงสถิตอยู่ในทุกๆ สิ่งรอบตัวไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติอย่างเช่น “ภูเขา” “แม่น้ำ” หรือ “น้ำตก” อีกทั้งยังรวมไปถึง “คน” และ “สิ่งของ” อีกด้วย และด้วยความที่มีความศรัทธาใน ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ หิน และไม้ ดังนั้นจึงมีการผูกเชือกที่เรียกว่า “ชิเมะนาวะ(しめ縄)” ไว้แล้วจึงสร้างบริเวณในส่วนนั้นๆ ขึ้นมานั่นเอง

แต่ในปัจจุบันศาลเจ้าได้เริ่มแผ่กระจายออกจากธรรมชาติป่าเขามากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งความศรัทธาของแต่ละศาลเจ้าก็จะมีความแตกต่างกันออกไป และวันนี้ได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

「稲荷社」: ศาลเจ้ากลุ่มอินาริ

「八幡社」: ศาลเจ้ากลุ่มฮาจิมัง

「天神・天満宮」: ศาลเจ้ากลุ่มเท็นจิน・เท็มมังงุ

「春日・香取・鹿島」: ศาลเจ้ากลุ่มคาสุกะ・คาโทริ・คาชิมะ

「浅間社」: ศาลเจ้ากลุ่มเซ็นเก็น

ไปดูกันเลยว่าแต่ละศาลเจ้าจะเป็นศาลเจ้าที่มีความศรัทธาอย่างไร และมีความโดดเด่นในด้านใดบ้าง

  1. ศาลเจ้าในกลุ่ม “อินาริ” : 稲荷社

และชนิดแรกก็คือศาลเจ้าในกลุ่ม “อินาริ” อย่างเช่น “ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ” ที่เป็นศูนย์กลาง และศรัทธาใน “เทพเจ้าอุคะโนะมิทามะ” (宇迦之御魂神) ถึงแม้ว่าเดิมทีจะเป็นศาลเจ้าที่ศรัทธาในโกโคคุโฮโจ(五穀豊穣 : เกี่ยวกับการเกษตร) แต่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เป็นศาลเจ้านี้มีความโดดเด่นทางด้าน “การค้าขาย” นั่นเอง

ศาลเจ้าที่เป็นสถานที่สิงสถิตย์ของเทพเจ้าแห่งการค้าขาย “ศาลเจ้าฟุชิมิ” นี้จะมีอยู่ 3-4 หมื่นแห่งในประเทศญี่ปุ่น เป็นศาลเจ้าที่รวมกับศาลเจ้าอื่นๆ ดังนั้นส่วนใหญ่จึงจะไม่มีคำว่า “อินาริ” อยู่ในชื่อศาลเจ้า ทำให้การนับจำนวนที่ถูกต้องของศาลเจ้าอินาริจึงเป็นไปได้ยากพอสมควร
โดยศาลเจ้าอินาริ ที่ขึ้นชื่อ และเป็นสถานที่ที่คนไทยอาจรู้จักกันดีก็คือ “ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ”「FUSHIMI INARI TAISHA(伏見稲荷大社)」(เกียวโต) หรือ “ศาลเจ้าโอจิอินาริ”「OJI INARI JINJA(王子稲荷神社)」(โตเกียว) โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นศาลเจ้าที่สามารถพบเห็นได้ในแถบคันไซ อย่างเกียวโต หรือ โอซาก้า

ในกลุ่ม “ศาลเจ้าอินาริ” เป็นศาลเจ้าที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นญี่ปุ่น ที่มีเสาโทริอิสีแดงเรียงรายอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เป็นมุมถ่ายรูปยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งเสาแดงโทริอิที่เรียงรายอยู่ใน “ศาลเจ้าอินาริ” ส่วนใหญ่จะเป็นการถวายเสาให้แก่ศาลเจ้าเพื่อเป็นการขอพรทางด้าน “การค้าขาย” นั่นเอง

2. ศาลเจ้าฮาจิมัง(ฮาจิมังกุ) : 八幡社(八幡宮)

และศาลเจ้ากลุ่มต่อไปก็คือ “ศาลเจ้าฮาจิมัง”(ฮาจิมังกุ) ซึ่งศาลเจ้าที่เด่นๆ ในกลุ่มนี้ก็คือ “ศาลเจ้าอิวะชิมิซุ”「IWASHIMIZU HACHIMANGU(石清水八幡宮)」

โดยส่วนใหญ่จะเป็นศาลเจ้าที่ศรัทธาในจักรพรรดิโอจิง, ฮิเมะกามิ, จักรพรรดินีจิงงู และ “มุนาคาตะซังโจะชิน” ที่โดดเด่นทางด้าน “ศิลปะการต่อสู่” หรือ “การแข่งขัน”

เป็นศาลเจ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมากรองจากศาลเจ้าอินาริ โดย “ศาลเจ้าฮาจิมัง” มีอยู่ประมาณ 2 หมื่นแห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งศาลเจ้าขึ้นชื่อของศาลเจ้าฮิจิมังก็คือ “ศาลเจ้าสึรุงะโอกะ ฮาจิมังงุ”「TSURUGAOKA HACHIMANGU(鶴岡八幡宮)」(คานางาวะ・คามาคุระ)หรือ “ศาลเจ้าอิวะชิมิซุ”「IWASHIMIZU HACHIMANGU(石清水八幡宮)」(เกียวโต) แผ่กระจายออกไปตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น

3. เท็นจิน・เท็มมังงุ : 天神・天満宮

โดยศาลเจ้าในกลุ่ม “เท็นจิน・เท็มมังงุ” จะเป็นศาลเจ้าที่ศรัทธาในวีรบุรุษ “สึกาวาระโนะ มิจิซาเนะ”「Sugawara no Michizane(菅原道真)」
โดย “สึกาวาระโนะ มิจิซาเนะ” เป็นนักวิชาการ และก่อตั้งโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมา เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งการศึกษา” เป็นศาลเจ้าที่มีนักเรียนนักศึกษา หรือผู้ที่กำลังเตรียมสอบ นิยมมากราบไหว้กันที่ศาลเจ้านี้

ถึงแม้ว่าศาลเจ้าหลักของศาลเจ้าชนิดนี้จะอยู่ที่ คิวชู・ฟุกุโอกะ กับศาลเจ้าดะไซฟุ เท็มมังงุ「DAZAIFU TENMANGU(太宰府天満宮)」แต่ก็เป็นศาลเจ้าที่แผ่กระจายออกไปทั่วประเทศเช่น “ศาลเจ้าคิตาโนะ เท็มมังงุ”「KITANO TENMANGU(北野天満宮)」(เกียวโต), “ศาลเจ้าโอซาก้า เท็มมังงุ”「OSAKA TENMANGU(大阪天満宮)」(โอซาก้า) หรือ “ศาลเจ้ายุขิมะ เท็นจิน”「YUSHIMA TENJIN(湯島天神)」(โตเกียว) เป็นต้น

ศาลเจ้าในกลุ่ม “เท็นจิงงุ・เท็มมังงุ” นี้ส่วนใหญ่จะมีต้นบ๊วย หรือ “อุเมะ”「UME(梅)」ที่เป็นต้นไม้แห่ง “สึกาวาระโนะ มิจิซาเนะ” ปลูกอยู่ในบริเวณศาลเจ้า ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนมีนาคมก็สามารถชมความสวยงามของดอกอุเมะ ที่คล้ายๆ ดอกซากุระได้อย่างเต็มที่เลยทีเดียว

4. ศาลเจ้าคาสุกะ : 春日社

ศาลเจ้าในกลุ่ม “ศาลเจ้าคาสุกะ” นี้เป็นศาลเจ้าที่ศรัทธาใน “เทพเจ้าคาสุกะ”「KASUGANOKAMI(春日神)」อย่างเช่น “ศาลเจ้าคาสุกะ” ในนารา มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 1000 แห่ง ซึ่งความโดดเด่นของศาลเจ้าคาสุกะจะมีอยู่หลายด้านคือ “การต่อสู่” “การบันเทิง” “การคลอดบุตร” “การพบเจอ” และ “การเดินทาง”

โดยศาลเจ้าคาสุกะขึ้นชื่อจะมีอยู่ที่ “ศาลเจ้าคาสุกะ”「KASUGA TAISHA(春日大社)」ใกล้วัดโทได ข้างๆ NANA PARK ที่มีกวางอยู่มากมายในนารา เป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ยังมี “ศาลเจ้าโยชิดะ” 「YOSHIDA JINJA(吉田神社)」(เกียวโต) หรือ “ศาลเจ้าโอฮาระโนะ”「OHARANO JINJA(大原野神社)」 (เกียวโต) ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในแถบคันไซ

5. ศาลเจ้าเซ็นเก็น : 浅間社

และศาลเจ้ากลุ่มสุดท้ายก็คือ ศาลเจ้าในกลุ่ม “ศาลเจ้าเซ็นเก็น”

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในแถบคันโต ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ศรัทธาใน “ภูเขาไฟฟูจิ” จะเห็นได้จากศาลเจ้าเซ็นเก็นที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยามางาตะ หรือชิซุโอกะ ที่สามารถมองเห็นภูเขาไฟฟูจิได้นั่นเอง

โดยศาลเจ้าที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก็มี “ศาลเจ้าอาราคุระเซ็นเก็น” ที่อยู่เชิงดอย โดยมี “สวนอาราคุระยามะเซ็นเก็น” ที่มีเจดีย์ห้าชั้น เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน

นอกจากนี้บริเวณยอดภูเขาไฟฟูจิ ในสถานีภูเขาไฟฟูจิที่ 8 ยังเป็นบริเวณของ “ศาลเจ้าฟุจิซัง ฮนกุ เซ็นเก็น”「FUJISAN HONGU SENGEN TAISHA(富士山本宮浅間大社)」และที่จุดสูงสุดของภูเขาไฟฟูจิยังมี “โอคุมิยะ”「OKUMIYA(奥宮)」อยู่อีกด้วย

และในศาลเจ้าเซ็นเก็นบางแห่งก็จะมี “ฟูจิซึกะ”「FUJIZUKA(富士塚)」ที่ถือเป็นภูเขาไฟฟูจิจิ๋ว อยู่ตามศาลเจ้าเซ็นเก็นและมีความเชื่อว่าหากได้ปีนขึ้น “ฟูจิซึกะ” นี้ก็เหมือนได้ปีนขึ้นภูเขาไฟฟูจิของจริงเลยทีเดียว อย่างเช่นที่ “ศาลเจ้าชินางาวะ”「SHINAGAWA(品川神社)」ที่ชินางาวะ ในโตเกียว จะมี “ฟูจิซึกะ” ขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 15 เมตร ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไม่น้อยเลยทีเดียว

ศาลเจ้าในประเทศญี่ปุ่นที่มีอยู่มากมายถึง 8 หมื่นแห่ง ที่มีลักษณะและความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น “ศาลเจ้าอนาริ”「INARI SHRINE(稲荷神社)」ที่โดดเด่นในด้านการค้าขาย หรือ “ศาลเจ้าเท็มมังงุ” ที่ศรัทธาในเทพเจ้าแห่งการศึกษา หรือ “ศาลเจ้าเซ็นเก็น” ที่มีความศรัทธาในภูเขาไฟฟูจิ เป็นต้น

ครั้งนี้เราได้พูดถึงศาลเจ้ากลุ่มใหญ่ๆ ในประเทศญี่ปุ่นไปทั้งหมด 5 กลุ่ม ซึ่งนอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าที่โดดเด่นในด้าน “ความรัก” หรือ “การตัดขาด” อยู่อีกด้วย หากคุณได้มาท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นก็ลองเลือกศาลเจ้าที่ท่านสนใจดูได้เลย แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า♪