ตั้งแต่เข้าเดือนกันยายนมาเพียงไม่กี่วัน ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ถึง 2 ที่ก็คือ พายุไต้ฝุ่นรุนแรงที่มีศูนย์กลางความเสียหายอยู่ที่โอซาก้า และ เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในฮอกไกโด ที่กำลังเป็นข่าวใหญ่อยู่แม้กระทั่งในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะเกิดความเสียหายที่รุนแรง แต่พื้นที่ต่างๆ ก็เร่งแก้ไขอย่างรวดเร็วทำให้สภาพบ้านเมืองได้กลับมาสู่ปกติบ้างแล้วในบางพื้นที่ ผลกระทบต่างๆ เช่น ไฟดับ แก๊ส และน้ำประปาถูกตัด ก็ได้รับการแก้ไขภายใน 1 วัน การคมนาคมขนส่งต่างๆ ก็เริ่มเปิดให้บริการเป็นปกติในหลายวันถัดไป ถึงแม้ว่าจะมีการเร่งแก้ไขปรับปรุงตามพื้นที่ต่างๆ แต่ในบางพื้นที่ก็ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ที่ได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ ทำให้เที่ยวบินระหว่างประเทศยังคงไม่สามารถใช้บริการได้ และเชื่อว่ามีผู้อ่านบางคนก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้อยู่เช่นกัน
โดยสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว และภัยพิบัติต่างๆ ก็คือ「การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง」และ「การจัดการรับมือกับการประสบปัญหาต่างๆ」
“โซเชียล” และ “ความคิดเห็นต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต” ที่โดยปกติจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่กลับให้ผลลัพท์ตรงข้ามในเหตุการณ์ภับพิบัติครั้งใหญ่ ทั้งข่าวลือ และข้อมูลเท็จ ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งถือว่าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นเอง
ดังนั้นครั้งนี้จึงจะมาพูดถึง「การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง」และ「การจัดการรับมือกับการประสบปัญหาต่างๆ」เมื่อท่านประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว เหตุภัยพิบัติ หรือในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย หรือประสบอุบัติเหตุต่างๆ ดังนี้
1.ในกรณีที่จำเป็นต้องการติดต่อ “เจ้าหน้าที่ตำรวจ”
ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการประสบปัญหาต่างๆ หากเป็นที่ไทยก็สามารถโทรเรียก 191 ส่วนที่ญี่ปุ่นจะต้องโทรไปยัง 110 ซึ่งในขณะนี้รองรับภาษาอังกฤษแล้ว ต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการรองรับเป็นภาษษาไทยอีกด้วย แต่ทว่าจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและพื้นที่ต่างๆ เช่นบริเวณเกียวโต เป็นต้น
ซึ่งการปฏิบัติเบื้องต้นหากท่านต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นจะต้อง
- แจ้งสถานการณ์คร่าวๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น
- แจ้งตำแหน่งที่ท่านอยู่อย่างถูกต้อง(สังเกตุจากสัญลักษณ์หรือสิ่งที่สามารถระบุถึงตำแหน่งที่ท่านอยู่ ณ ขณะนั้นรอบๆ ตัว)
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการต่างๆ ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
2.การเรียก “รถพยาบาล” จากอุบัติเหตุ ป่วย หรือได้รับบาดเจ็บ
ในประเทศไทยก็คือเบอร์「1669」หากท่านต้องการโทรเรียกรถพยาบาลจะต้องโทรไปยัง「119」เพื่อติดต่อไปยัง Call Center ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการโทรไปยังสถานีตำรวจที่เริ่มมีการพัฒนาให้สามารถรองรับได้หลากหลายภาษามากขึ้น แต่ทว่าโดยพื้นฐานทั่วไปจะรองรับภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่
โดยการเรียกรถพยาบาลจะมีความแตกต่างจากการโทรเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจเล็กน้อย คือไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดมากมาย เพียงแจ้งตำแหน่งที่ท่านอยู่ ณ ขณะนั้น ให้ถูกต้องแม่นยำเท่านั้น รถพยาบาลก็จะเดินทางมาทันที ท่านอาจทำการโทรเช็คสถานที่ให้แม่นยำก่อน(เช่น ห้องพัก△□ของโรงแรม〇× เป็นต้น)เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการอย่างราบรื่น
ในกรณีที่ท่านไม่มีโทรศัพท์ หรือ ไม่ทราบสถานที่ที่ท่านอยู่ ณ ตอนนั้น ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากคนญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้โดย พูดว่า
「SUIMASEN KYUUKYUUSHA WO YONDE KUDASAI」
「ซุยมาเซ็น คิวคิวฉะ โอะ ยนเด้ะ คุดาซัย」(กรุณาเรียกรถพบาบาลให้หน่อย ครับ/ค่ะ)
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะให้ควาช่วยเหลือท่านอย่างแน่นอน
3.การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางสภาพอากาศอย่าง พายุไต้ฝุ่น หรือ หิมะตกหนัก
ประเทศญี่ปุ่นมีฤดูกาลอยู่ทั้งหมด 4 ฤดูคือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งในแต่ละฤดูก็จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปลปรวนแตกต่างกันออกไปอย่าง พายุไต้ฝุ่นเข้า หรือ หิมะตกหนัก
เหตุการณ์หิมะตกหนักจะเกิดขึ้นในช่วง เดือนธันวาคม ไปจนถึง เดือนมีนาคม(โดยเฉพาะ ทางตอนเหนือและทางทิศตะวันออกของญี่ปุ่น)ส่วนในช่วงเดือนปลายเดือนพฤษภาคม ไปจนถึง เดือนตุล
คม จะเป็นช่วงที่มีโอกาสเจอกับช่วงฝนตกหนัก และส่วนใหญ่พายุไต้ฝุ่นจะเข้าในช่วงเดือนมิถุนายน ไปจนถึง เดือนตุลาคม เป็นต้น
ดังนั้นหากท่านจะเดินทางท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นในช่วงเหล่านี้พอดีก็สามารถเช็คสภาพอากาศได้จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที『Japan Meteorological Agency』
โดยเฉพาะข้อมูลพายุไต้ฝุ่น ที่ท่านสามารถตรวจเช็คได้แม้กระทั่งเส้นทางพายุไต้ฝุ่นและความแรงของพายุไต้ฝุ่น『Weather/Earthquakes』
หากท่านได้เช็คสภาพอากาศเอาไว้ก่อน และหากได้ทราบว่าท่านอาจมาเที่ยวในช่วงที่ฝนตกหนัก พอดีก็อาจรับมือโดยการเปลี่ยนแปลงสถานที่ท่องเที่ยวที่ท่านสามารถเพลิดเพลินได้แม้กระทั่งอยู่ในอาคาร หรือในร่ม เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับท่านระหว่างการท่องเที่ยวได้นั่นเอง
4.การเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว”
หากเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างเช่น พายุไต้ฝุ่น ฝนตกหนัก หรือหิมะตกหนักนั้น ท่านสามารถทราบได้ล่วงหน้าจากพยากรณ์ต่างๆ แต่ทว่าเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” นั้น เป็นอะไรที่ไม่สามารถคาดเดาได้
ถึงแม้ว่าพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอยู่บ่อยครั้งในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในพื้นที่ “โทโฮกุ TOHOKU(東北)” และ ญี่ปุ่นตะวันออก “ฮิงาชินิฮน HIGASHI NIHON(東日本)” แต่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวน้อยก็ยังต้องพบเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเช่นกัน อย่างเช่น “ฮอกไกโด” ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อไม่กี่วันมานี้ หรือจะเป็น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ “คุมาโมโตะ” ในปีพ.ศ. 2559 เรียกได้ว่าเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไหร่
ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีระบบ「การแจ้งเตือนฉุกเฉินการเกิดแผ่นดินไหว」เพื่อแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพียงไม่กี่วินาทีในมือถือทั่วไปหรือสมาร์ทโฟนของคนญี่ปุ่น โดยทั่วไปแล้วระบบการแจ้งเตือนนี้จะไม่รอบรับมือถือหรือเครือข่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือเครื่องมือสื่อสารนอกเหนือจากของประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าการแจ้งเตือนนี้จะแจ้งเตือนกระชันชิดกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือแจ้งล่วงหน้าก่อนไม่กี่วินาทีก็ตาม
แต่ไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะท่านสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ได้ทาง Google Play หรือ iTunes ที่มีการแจ้งเตือนเหตุการณ์แผ่นดินไหวก่อนล่วงหน้า ถึงแม้ว่าจะเตือนก่อนไม่กี่วินาที แต่ก็ช่วยให้ได้รับมือได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วยการเอามือมาปกป้องศรีษะหรือหลบใต้โต๊ะเป็นต้น
Google Play:Safety tips
iTunes:Safety tips
สำหรับท่านใดที่กังวลว่าตนอาจประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ก็สามารถดาวน์โหลดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ เพียงทำการตั้งค่าสถานที่ที่จะเดินทางไป หลังการดาวน์โหลดก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เท่านี้แอปฯ ก็จะทำการแจ้งเตือนให้ท่านเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวระหว่างที่ท่านอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
6.เมื่อต้องพบเจอกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ
ในกรณีที่ท่านต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอย่าง แผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น หิมะตกหนัก หรือคลื่นยักษ์สึนามิ ทางที่ดีที่สุดคือการเก็บตัวอยู่ในที่พัก เช่น โรงแรมที่ตนเข้าพัก หรือ หากคิดว่าไม่สามารถรับมือได้เองก็สามารถอพยพไปยังจุดหลบภัยของท้องถิ่นได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกโดยภาระการที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสถานที่ที่จะเป็น “จุดหลบภัย” ก็คือ สถานที่ราชกาลต่างๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอย่างเช่น โรงเรียนประถมมัธยม โรงยิม หรือ ฮอลล์ของหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็สามารถในบริการเข้าหลบภัยได้ (ในบางกรณีอาจไม่รองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วยสาเหตุบางอย่าง แต่จะช่วยรับมือแก้ปัญหาให้ได้) ถึงแม้ว่าหลังเกิดภัยพิบัติต่างๆ จุดลี้ภัยจะมีความวุ่นวายอยู่พอสมควร แต่ท่านก็สามารถรับผ้าห่ม ที่นอน อาหาร หรือปลั๊กไฟได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งในช่วงเวลาที่ประสบภัยพิบัติสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็คือ “มือถือสมาร์ทโฟน” แต่เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ อย่างพายุไต้ฝุ่น หรือแผนดินไหว ไฟฟ้าก็อาจจะถูกตัดลงทันที ทำให้ไม่สามารถชารต์แบตมือถือได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นสถานที่หลบภัยของพื้นที่ก็ตาม เพราะฉะนั้นระหว่างการท่องเที่ยวต่างๆ ก็ควรจะพก “แบตสำรอง” เอาไว้ การมีแบตสำรองเอาไว้นั้น จะเป็นประโยชน์กับท่านได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่นกรณีที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ หรือในกรณีที่แบตมือถือหมดกระทันหัน เป็นสิ่งสำคัญในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขาดไม่ได้ในยุคนี้เลยทีเดียว ยิ่งในช่วงนี้ก็มี “โมบายเราเตอร์” ที่มาพร้อมกับแบตสำรองในเครื่องเดียวให้บริการอยู่อีกด้วย
ถึงแม้ว่า จะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในรอบหลายร้อยปีเหมือนกับ東日本大震災 แต่ท่านจะสามารถเดินทางไปยังเมืองใหญ่ๆ ได้ภายใน 3 วัน ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่หลายแห่งในประเทศ เฉพาะท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศไทยก็มีมากถึง 7 ที่ คือ ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ・ท่าอากาศยานนาริตะ ที่โตเกียว・ท่าอากาศยานฮาเนดะ ที่โตเกียว・ท่าอากาศยานชูบุเซ็นแทรร์(นาโกย่า)・ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ・ฟูกุโอกะ ・นาฮะ เป็นต้น
ซึ่งจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านไปไม่นานนี้ (เดือนกันยายน ปีพ.ศ.2561)ก็ทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย ทำให้สนามบินจะต้องปิดให้บริการชั่วคราว (ยกเว้นบางสายการบิน)ในเวลาแบบนี้ ท่านก็สามารถเลือกเปลี่ยนเที่ยวบินเดินทางกลับประเทศไทยได้ด้วยสนามบินนานาชาติที่อื่นๆ โดยสามารถปรึกษาและสอบถามรายละเอียดได้ทางสายการบินนั้นๆ โดยตรง
ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่ท่านจะได้เพลิดเพลินสัมผัสบรรยากาศ หรือพักผ่อนอย่างเต็มที่ในเมืองต่างแดน และกลับประเทศอย่างอิ่มอกอิ่มใจ แต่การเตรียมความพร้อมในเหตุกรณีฉุกเฉินก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และขาดไม่ได้เช่นกัน เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าระหว่างการท่องเที่ยวจะมีเหตุการณ์ฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้นการทำ “ประกันการท่องเที่ยว” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ นอกจากค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่ารักษาจากอุบัติเหตุแล้ว ส่วนใหญ่ยังสามารถรับประกันครอบคลุมค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าตั๋วเครื่องบิน ตั้งแต่เกิดภัยพิบัติ และการประสบปัญหาต่างๆ ไปจนถึงกลับประเทศ ในช่วงระหว่างการท่องเที่ยวได้อีกด้วย(ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสัญญาด้วยเช่นกัน)ซึ่งการประกันการท่องเที่ยวจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวด้วยตัวเองมักจะลืมซื้อเอาไว้ และเดินทางออกนอกประเทศไปเลย เพราะฉะนั้นอย่าลืมเช็คก่อนออกเดินทาง ว่าท่านได้ทำประกันการท่องเที่ยวเอาไว้แล้วหรือยัง
ครั้งนี้เราได้พูดถึง「การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง」และ「การจัดการรับมือกับการประสบปัญหาต่างๆ」ทั้งในกรณีที่ท่านประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง “แผ่นดินไหว” และ “พายุไต้ฝุ่น” หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ระหว่างการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ท่านได้ท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นอย่างสบายใจ และรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างราบรื่น เราหวังว่าเนื้อหาข้างต้นจะเป็นประโยนช์ต่อท่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า♪