มาสนุกไปกับกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นกับ「กีฬาเบสบอลมืออาชีพ」กัน !

03 Jul 2020
1406

ถ้ากีฬาที่คนไทยชื่นชอบมากที่สุดเป็นฟุตบอลหรือมวยไทย ที่ญี่ปุ่นก็คงเป็นกีฬาเบสบอล「YAKYUU」ที่ญี่ปุ่นจะเรียกกีฬาเบสบอลว่า “ยะคิว” ที่เป็นกีฬาที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบมากที่สุด

KOUKOUYAKYUU หรือการแข่งขันเบสบอลระดับมอปรายที่จะจัดขึ้นที่「KOUSHIEN KYUUJYOU」หรือ「โคชิเอ็ง」จำนวน 2 ครั้งในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ที่เฮียวโงะ จะมีการถ่ายทอดสดทางทีวีด้วย ส่วนเบสบอลมืออาชีพที่ญี่ปุ่นจะมีอยู่ทั้งหมด 12 ทีม และมีผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 25 ล้านคนต่อปีเลย

และในปีนี้มีกำหนดว่าจะมีการแข่งขันเบสบอลมืออาชีพขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมไปจนถึง ต้นเดือนตุลาคม เป็นเวลา 6 เดือน แข่งขันกันทั้งหมด 870 การแข่งขัน(รวม Playoff)

สำหรับคนไทยแล้วส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยรู้กฏกติกาของกีฬาเบสบอลซักเท่าไหร่ แต่บรรยากาศของสเตเดียมที่เต็มไปด้วยผู้คนที่คลั่งไคล้เบสบอลทและกำลังเชียร์อย่างสุดแรงเหมือนอยู่ใน OMATSURI งานเทศกาล แบบงานวัดบ้านเรา ที่มีคนคึกคักมากมาย

วันนี้เราเลยอยากจะมาแนะนำกีฬาเบสบอล กีฬาที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบให้ทุกคนได้รู้กัน

เช่นเดียวกับ พรีเมียร์ลีกของไทย เบสบอลของญี่ปุ่นก็จะมีทีมในแต่ละจังหวัด แต่ละพื้นที่ ดังนี้

  • SAPPORO(Sapporo Dome):Hokkaido Nippon – Ham Fighters
  • SENDAI(Rakuten Seimei Park):Tohoku Rakuten Eagles
  • TOKOROZAWA(MetLife Dome):Saitama Seibu Lions
  • TOKYO(Tokyo Dome):Yomiuri Giants
  • TOKYO(Jingu Baseball Stadium):Tokyo Yakult Swallows
  • CHIBA(ZOZO Marines Stadium):Chiba Lotte Marines
  • YOKOHAMA(Yokohama Stadium):Yokohama DeNA BAYSTARS
  • NAGOYA(Nagoya Dome):Chunichi Dragons
  • NISHINOMIYA(Hanshin Koshien Baseball Stadium):Hanshin Tigars
  • OSAKA(Kyocera Dome):Orix Buffloes
  • HIROSHIMA(MAZDA Zoom-Zoom Stadium):Hiroshima Carp
  • FUKUOKA(Fukuoka Dome):Fukuoka SoftBank HAWKS

ซึ่งไม่ว่าสเตเดียมไหนก็เป็นสเตเดียมขนาดใหญ่ที่สามารถจุผู้ชมได้ถึง 3 หมื่น ถึง 5 หมื่นคนเลยทีเดียว

ซึ่ง 12 สเตเดียมนี้จะมี ①Sapporo Dome ③MetLife Dome ④Tokyo Dome ⑧Nagoya Dome ⑩Kyocera Dome และ ⑫Fukuoka Dome เหล่านี้ที่เป็นสเตเดียมที่มีหลังคา เฉพาะฉะนั้นสามารถจัดการแข่งขันต่างๆได้โดยไม่ต้องกังวลสภาพอากาศเลย โดยเฉพาะที่ ⑫Fukuoka Dome จะเป็นโดมที่สามารถเปิดปิดหลังคาได้ เฉพาะฉะนั้นจะสามารถเปิดหลังคาได้ในวันที่อากาศดีด้วย

ค่าเข้าชมจะขึ้นอยู่กับชนิดของที่นั่ง ราคาตั้งแต่ 1500 เยนถึง 10000 เยนโดยประมาณ

และที่อยู่ในวงกลมสีเหลืองคือ ที่นั่งที่แพงที่สุดเรียกว่า「Field Seat」(อาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละสเตเดียม)

เป็นที่นั่งที่อยู่ในระดับเดียวกับ Field แถมยังไม่รั้วกั้นระหว่าง Field ให้ความรู้สึกเหมือนได้แข่งไปด้วยเลย

แต่ถ้านั่งที่นั่งนี้ต้องระวังลูกเบสบอลที่จะลอยตกมาแถวนี้บ่อยๆเป็นพิเศษด้วย

และที่นั่งที่ถูกที่สุดคือที่นั่งที่อยู่ในกรอบสีเหลี่ยมสีส้ม เรียกว่า 「Outfield Seat」

ที่นี่จะเป็นที่นั่งที่แฟนๆที่คลั่งไคล้เบสบอลส่งเสียงเชียร์ โดย มีกลอง แตร และปรบมือเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบกันอย่างคึกคัก

สำหรับคนที่ชอบบรรยากาศแบบงานเทศกาล งานวัด ที่มีคนแบบคึกคักก็แนะนำที่นั่งโซนนี้เลย

ภายในสเตเดียมมีอะไรให้ตื่นตามากมาย โดยเฉพาะของกินที่ขายที่นี่

รูปด้านซ้ายบนคือของขึ้นชื่อของ MetLife Seibu Dome「WAKO 3 TENMORI」(890 เยน)

มี Mille Feuille Katsu, Kushi Katsu และไก่ทอด ที่เพิ่งทอดใหม่แบบร้อนๆ ส่วนที่ใส่ก็เป็นทรงหมวกกันน๊อคที่ Batter หรือผู้ตี ใส่อยู่ด้วย

รูปด้านบนขวาจากที่ Kyocera Dome Osaka「ITEMAE MOUGYUU CURRY」(1000 เยน)

เป็นแกงกะหรี่ที่มีท๊อปปิ้งเป็นเนื้อย่าง เป็นเมนูที่มาจากวัวของ Orix Buffloes นั่นเอง

และรูปด้านล่างสุดก็ที่ Kyocera Dome เช่นกันกับเมนู 「ITEMAE  DOG」(700 เยน)

เป็นฮอทด็อกที่ยาวกว่าปกติกว่า 2 เท่า ให้เหมือนกับไม้เบสบอลนั่นเอง

ที่สเตเดียมต่างๆก็จะมีอะไรให้ตื่นตาแบบนี้อยู่อีกมากมาย

ของกินที่อร่อยก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง แต่ผู้ชมที่เชียร์อยู่ที่โซน Outfield ก็เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเหมือนกัน

ทั้งสแตนจะเป็นหนึ่งเดียวกัน เป่าทรัมเป็ต ปรบมือ ส่งเสียงเชียร์กันอย่างคึกคัก

ผู้นำจะนำเชียร์ก่อน และทั้งสแตนก็จะส่งเสียงตาม แต่ก็ฟังไม่ค่อยออกเท่าไหร่ว่าพูดว่าอะไรกัน(คนญี่ปุ่นก็ฟังไม่ออก)แต่ก็ทำให้รู้สึกสนุกไปอีกแบบ

ถ้าใครที่รู้สึกว่าเสียงเชียร์ เสียงปรบมือมันอึดอัดไปก็แนะนำเป็นโซน Infield

เป็นที่ที่สามารถเห็นได้ทั้งส่วน Field และคนที่เชียร์อยู่ที่โซน Outfield เลย

ปกติการแข่งขันเบสบอล 1 การแข่งขันจะมี 9 inning(ประมาณ 2ชั่วโมงครึ่ง – 4 ชั่วโมง)

การแข่งขันส่วนใหญ่ในทุกสเตเดียม ช่วงท้ายเกมประมาณ Inning ที่ 7 ก็จะมีเพลงเชียร์ดังขึ้น และจะปล่อยลูกโป่งเจ็ททั่วสเตเดียมเลย(ยกเว้นโตเกียวโดม นาโกย่าโดม จิงกุเบสบอลสเตเดียมที่ห้ามทำ)ถือว่าเป็นช่วงพีคของการแข่งขันเลย

และยิ่งถ้าเป็นช่วงสุดสัปดาห์ บางสเตเดียมอาจจุดพลุโชว์ช่วงพักระหว่าง Inning ด้วย

นอกจากจุดพลุแล้วก็อาจจะมี การเต้น คอนเสิร์ต หรืออีเว้นท์ต่างๆด้วย ลองเช็คดูกันก่อนได้เลยว่าที่ไหนมีอะไรบ้าง

【Player YASUO SANO】

คนไทยอย่างเราอาจไม่ค่อยรู้จักการแข่งขันเบสบอลมืออาชีพซักเท่าไหร่ แต่มีคนไทยคนนึงเป็นนักเบสบอลมืออาชีพที่ญี่ปุ่นด้วย

ก็คือ ซาโนะ แม่ของเขาเป็นคนไทย ส่วนพ่อเป็นคนญี่ปุ่น เขาเกิดที่ไทย และเป็นนักเบสบอลมืออาชีพที่มีสัญชาติไทยคนเดียว

ชื่อยาซูโอะนี้ภาษาญี่ปุ่นจะเขียนว่า「泰雄」ตัว「泰」ในชื่อของเขาแปลว่า ประเทศไทยด้วย

ทีมที่เขาอยู่ก็คือ Saitama Seibu Lions

ตอนนี้เขาเข้าร่วมทีมเป็นปีที่ 4 แล้ว เป็นนักกีฬาน้องใหม่ที่ได้เป็น Top League(นักกีฬาตัวเก็ง)ที่ได้เข้าแข่งขันถึง 23 เกมด้วย

นักกีฬาเบสบอลมืออาชีพที่เป็นคนไทย และยังเป็นตัวท็อปของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย ยังไงลองไปเชียร์เขากันดูได้

วันเวลาการแข่งขันต่างๆ สามารถเข้าไปเช็คได้ที่ลิ้งค์ของ『NIPPON PROFESSIONAL BASEBALL ORGANIZATION』เลย

อาจจะมีส่วนที่งงนิดหน่อย เช่นถ้าเขียนว่า G-S จะหมายความว่า เป็นการแข่งขันระหว่าง Yomiuri Giants กับ Tokyo Yakult Swallows  และ Yomiuri Giants เป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งนี้นั่นเอง

สำหรับใครที่สนใจอยากทราบรายละเอียดสามารถเข้าไปคลิ๊กที่ โลโก้ใต้เพจ เพื่อทราบรายละเอียดการแข่งขันและสถานที่ได้

(แต่ละทีมอาจมีการแข่งขันนอกจากจังหวัดของตนเองด้วย ต้องเช็คให้ดีก่อน)

ตั๋วสามารถซื้อหน้างานได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับการแข่งขันของ DeNA BAYSTARS เป็นเจ้าภาพ หรือ Hiroshima Carp เป็นเจ้าภาพ ส่วนใหญ่ทุกการแข่งขันคนจะเต็มหมด

ส่วนการแข่งขันที่ Yomiuri Giants, Hanshin Tigars หรือ Fukuoka SoftBank HAWKS เป็นเจ้าภาพ ในวันเสาร์หรืออาทิตย์คนจะเต็ม และที่ซื้อตั๋วจะวุ่นวายมาก

ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการจะไปดูการแข่งขันของทีมเหล่านี้แนะนำว่าให้จองตั๋วผ่านเว็ปไว้ก่อนเลย หรือจะปรึกษาบริษัทท่องเที่ยวไว้ก่อนก็ได้

นอกจากกรณีของทีมอื่นๆ ถ้าไม่ใช่วันหยุดหรือวันที่มีอีเว้นท์พิเศษ(กิจกรรมแจกเสื้อยูนิฟอร์ม)ก็สามารถซื้อตั๋วจากหน้างานได้เลย

วันนี้เราก็ได้มาแนะนำ「กีฬาเบสบอลมืออาชีพ」ของญี่ปุ่น ทั้งการแข่งขัน ของภายในงานต่างๆกันไปแล้ว

สำหรับประเทศไทยที่กีฬาเบสบอลไม่ได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทำให้หลายๆคนอาจไม่รู้กติกาวิธีเล่นกันเท่าไหร่นัก แต่ลองไปดูบรรยากาศของกีฬาที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบมากที่สุดดู อาจจะได้ความรู้สึกสนุก ความรู้สึกแปลกใหม่กลับมาก็ได้นะคะ