วันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ถึงแม้ว่าความจริงแล้วอากาศในช่วงนี้จะยังคงหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง แต่อีกเพียงหนึ่งเดือนอากาศก็จะเริ่มอุ่นขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิอย่างแท้จริง
ซึ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไปจนถึงช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงของงานเทศกาลต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เป็นช่วงของฤดูกาลลงนาข้าว จึงมีงานเทศกาลต่างๆ มากมายเพื่อขอพรให้พืชผลธัญพืชงอกงาม
ในครั้งนี้เราจึงจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับงานเทศกาลต่างๆ ในฤดูใบไม้ผลิกันค่ะ
โดยหากนับงานฤดูใบไม้ผลิ รวมไปถึงงานเทศกาลเล็กๆ ต่างๆ แล้วก็มีอยู่นับไม่ถ้วนหลายร้อยเทศกาลดังนั้นในวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักงานเทศกาลที่รู้จักกันทั่วไปอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นทั้ง 3 งานดังนี้
- เทศกาลทาคายามะ : 高山祭(กิฟุ)
- เทศกาลอาโออิ : 葵祭(เกียวโต)
- เทศกาลคันดะ : 神田祭(โตเกียว)
- “เทศกาลทาคายามะ” : 高山祭
งานเทศกาลทาคายามะ : TAKAYAMA FESTIVAL เป็นงานเทศกาลใน “ฮิดะทาคายามะ”「HIDA TAKAYAMA(飛騨高山)」สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดกิฟุ ทางตอนกลางแถบชูบุของประเทศญี่ปุ่น
โดยเทศกาลใหญ่ของฤดูใบไม้ผลินี้จะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ในวันที่ 14-15 เดือนเมษายนที่ “ศาลเจ้าฮิเอะ”「HIE JINJA(日枝神社)」ซึ่งงานเทศกาลทาคายามะนี้ถือเป็นหนึ่งในสามงานเทศกาลฮิกิยามะ หรือ “ซันไดฮิกิยามะมัตสึริ”「SANDAIHIKIYAMAMATSURI(3大曳山祭)」เทียบเคียงกับงานเทศกาลกิออนในเกียวโต และเทศกาลจิจิบุโยะมัตสึริ ในไซตามะ
“ฮิกิยามะ”「HIKIYAMA(曳山)」ก็คือชื่อเรียกรถลาก “ซันชะ”「SANSHA(山車)」แบบในรูปภาพนั่นเอง ซึ่งที่ฮิดะทาคายามะจะเรียกรถลาก “ซันชะ”「SANSHA(山車)」ว่า “ยาไต”「YATAI(屋台)」โดยงานจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้า ของวันที่ 14 เมษายน ในบริเวณศาลเจ้าฮิเอะ
งานเทศกาลทาคายามะนี้จะเปิดงานด้วยการ “เต้นรำถวาย” หรือ「มัยโนะโฮโน : 舞の奉納」และ “การออกตัวของซันชะ(มิโคชิ)” สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมพิธีขึ้นชื่อของงานนี้กับช่วง “คาราคุริโฮโน”(ตุ๊กตาหุ่นเชิดแบบกลไก : からくり奉納) ก็จะต้องไปชมที่บริเวณหน้า “ทาคายามะจินยะ”「TAKAYAMAJINYA(高山陣屋)」แทนที่ศาลเจ้าฮิเอะ
และรถลากซันชะ(มิโคชิ)ขนาดใหญ่ทั้ง 3 คันที่มี “คาราคุรินินเงียว(ตุ๊กตาคาราคุริ)” อยู่ก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้า ซึ่ง “คาราคุรินินเงียว(ตุ๊กตาคาราคุริ)” นี้เป็นหุ่นที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดมีอายุกว่า 260 ปี เป็นของที่ถูกทำขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2299 เลยทีเดียว
และส่วนที่เป็นไฮไลท์ที่สุดของงานนี้ก็คือส่วนเทศกาล “โยะมัตสึริ”「YOMATSURI(夜祭)」ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 18:30 น. ของวันที่ 14 การแห่ขบวนรถลาก “ยาไต” นั่นเอง โดยจะเป็นการแห่ขบวนรถลากซันชะที่ประดับไปด้วยโคมไฟ พร้อมประดับไปด้วยทองคำเปลวและไม้สานสวยงามรอบคัน เพื่อแห่ไปรอบๆ เมืองเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาช้านาน ซึ่งมีผู้เดินทางมาร่วมชมความสวยงามของงานเทศกาลในเมืองทาคายามะเล็กๆ แห่งนี้มากถึง 1 แสน 2 หมื่นคนเลยทีเดียว
“เทศกาลทาคายามะ” นี้เป็นงานที่ถูกจัดขึ้นในช่วงดอกซากุระบานสวยงามในเมืองทาคายามะ และอยู่ในช่วงวันหยุดสงกรานต์พอดี
ช่วงพีคของ “ซากุระ” บานในโตเกียวหรือโอซาก้าโดยปกติแล้วจะอยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน ซึ่งจะไม่สามารถหาชมได้ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ แต่ในบริเวณทาคายามะที่อุณภูมิต่ำกว่าที่อื่นนี้จะมีช่วงพีคของดอกซากุระช้ากว่าในเมืองโตเกียวหรือโอซาก้าถึง 10 วันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นคุณจะได้เที่ยวชมศิลปะของรถลากซันชะในงานเทศกาลทาคายามะได้พร้อมๆ กับดอกซากุระที่สวยงามในช่วงการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในวันหยุดสงกรานต์ได้พอดีเลยทีเดียว
2. “เทศกาลอาโออิ” : 葵祭(เกียวโต)
และงานเทศกาลต่อไปก็คือ “เทศกาลอาโออิ”『AOI MATSURI FESTIVAL(葵祭)』ในเกียวโตที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม
โดยงาน “เทศกาลอาโออิ” นี้ถือเป็นหนึ่งในสามงานเทศกาลขนาดใหญ่ของเกียวโต เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 1200 ปีก่อน เป็นงานเทศกาลของคนกลุ่มหนึ่งในยุคที่เมืองเกียวโตเป็นเมืองหลวงและใส่ชุด “โชโซกุ : 装束” เดินแห่ขบวนจากพระราชวังหลวงเกียวโต ที่เดิมทีเคยเป็นที่พักอาศัยของจักรพรรดิไปยังศาลเจ้าชิโมกาโมะ ไปจนถึงศาลเจ้าคามิกาโมะ
คุณจะได้สัมผัสบรรยากาศ “เทศกาลอาโออิ” ในบรรยากาศเหมือนได้ย้อนไปในอดีตยุคเฮอันของญี่ปุ่น งานเทศกาลที่สง่างามนี้เดิมทีเป็นงานเทศกาลสำหรับชนชั้นขุนนางนั่นเอง
โดยจะแห่ขบวนที่ประกอบไปด้วย ม้า 36 ตัว โค 4 ตัว และรถม้า 2 คัน และคนจำนวน 511 คนที่แต่งกายด้วยชุดสมัยเฮอัน เป็นแถวยาวกว่า 1 กิโล ในส่วนที่นั่งชมในศาลเจ้าชิโมกาโมะจะเป็นแบบเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็สามารถชมความสวยงามของเทศกาลนี้ได้ที่ริมข้างทางแบบฟรีๆ เช่นกัน
โดยจุดเด่นของขบวนแห่ในงานนี้ก็คือ「路頭の儀 : โระโทโนะกิ」ซึ่งเป็นส่วนรถลากวัวที่ตกแต่งด้วยดอกวิสทีเรีย (ภาษาญี่ปุ่น : ดอกฟูจิ)
ขบวนแห่ของงานเทศกาลอาโออิจะออกจากประตูเค็นเรพระราชวังหลงเกียวโตตั้งแต่ช่วงเช้า 10:30 ผ่าน ภายในสวนโกะเอ็น(御苑) ตรงไปทางใต้ออกจากประตูซากาอิมาจิโกะมง(堺町御門)
เดินไปทางตะวันออกเส้นมารุตะมาจิ (MARUTAMACHI DOURI) จากนั้นเดินจากสี่แยกคาวาระมาจิ ไปทางเหนือเส้นทางคาวาระมาจิ (KAWARAMACHI DOURI) เพื่อไปที่ศาลเจ้าชิโมกาโมะ หลังจากที่หยุดพักที่ศาลเจ้าชิโมกาโมะแล้ว ก็ออกเดินทางจากศาลเจ้าชิโมกาโมะเวลา 14:20 น. เดินไปทางตะวันตกเส้นทางคิตะโอจิโดริ(北大路通) และเดินเรียบแม่น้ำคาโมะ(賀茂川) ไปทางเหนือเพื่อเดินทางไปยังศาลเจ้าคามิกาโมะ และถึงที่หมายเวลา 15:30 น. เป็นระยะทางกว่า 8 กิโลเมตร
ถึงแม้ว่าบริเวณพระราชวังหลวงเกียวโต และบริเวณรอบๆ ศาลเจ้าชิโมกาโมะจะมีนักท่องเที่ยวยืนรอชมขบวนกันอย่างหนาแน่น แต่ระหว่างทางก็จะมีจุดเรียบทางเดินให้ได้ถ่ายรูปอยู่ตลอด ยังไงก็ลองเดินทางไปชม “เทศกาลอาโออิ” ในบรรยากาศที่เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปในญี่ปุ่นสมัยโบราณกันได้เลย
3. “เทศกาลคันดะ” : 神田祭
และงานเทศกาลสุดท้ายก็คือ “เทศกาลคันดะ”『KANDA MATSURI(神田祭)』จัดขึ้นสองปีละ 1 ครั้ง ในปีที่ลงท้ายด้วยเลขคี่
โดยงานเทศกาลนี้จะถูกจัดขึ้นบริเวณคันดะรวมไปถึงอากิฮาบาระ ในช่วงเดือนพฤษภาคม สองปีต่อ 1 ครั้ง ซึ่งงานเทศกาลคันดะที่ถูกจัดขึ้นที่ศาลเจ้าคันดะเมียวจิน ที่ปรากฏอยู่ในอนิเมะเรื่อง “เลิฟไลฟ์” และถือเป็นหนึ่งในสามเทศกาลขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเทียบเคียง “เทศกาลกิออน” ในเกียวโต และ “เทศกาลเท็นจิน” ในโอซาก้า
จุดเด่นของงานเทศกาลนี้ก็คือ「MIKOSHI MIYAIRI(御輿宮入)」(มิโคชิมิยะอิริ) ที่เป็นการแห่ขบวนมิโคชิ จากเมืองต่างๆ ในคันดะเข้าสู่ศาลเจ้าคันดะเมียวจินนั่นเอง โดยเฉพาะงานในปีนี้ วันที่ 1 พฤษภาคม ที่คาดการณ์ว่าจะมีความคักคึกเป็นพิเศษเนื่องจากจะจัดขึ้นในช่วงการสละราชบัลลังก์ของจักริพรรดิองค์ปัจจุบัน และเป็นช่วงการเริ่มยุคปีใหม่ของญี่ปุ่นพอดีอีกด้วย
ซึ่งไฮไลท์ของงานเทศกาลคันดะนี้ก็คือขบวนคนกว่า 500 คนที่ใส่ชุดโบราณในสมัยเฮอันกับส่วนเทศกาล “ชินโคไซ”「SHINKOUSAI(神幸祭)」โดยเทศกาล “ชินโคไซ”「SHINKOUSAI(神幸祭)」นี้จะออกเดินขบวนจากศาลเจ้าคันดะ ย่านอากิฮาบาระ ผ่านย่านออฟฟิศอย่างมารุโนะอุจิ หรือโอเตะมาจิ และวนกลับมาที่ศาลเจ้าคันดะ โดยภาพของขบวนผู้คนที่แต่งชุดโบราณสมัยเฮอันไปตามบรรยากาศบ้านเมืองในปัจจุบันเป็นภาพที่หาดูได้ยาก และไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ในวันถัดไปของงานเทศกาล “ชินโคไซ”「SHINKOUSAI(神幸祭)」จะมีการจัดแสดงเสรี่ยงมิโคชิอยู่บริเวณเมืองต่างๆ รอบๆ ศาลเจ้าคันดะเมียวจินอีกด้วย
โดยในเทศกาล “ชินโคไซ”「SHINKOUSAI(神幸祭)」นี้จะเป็นการแห่เทพเจ้าที่ปกป้องบ้านเมืองบริเวณรอบๆ ศาลเจ้าคันดะเมียวจินด้วยเสรี่ยงมิโคชิทั้งหมด 3 อัน เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผู้คนที่ใส่ชุดสมัยเฮอันอยู่รอบๆ ขบวนก็คือผู้ติดตามของเทพเจ้านั่นเอง
จุดเด่นก็งานเทศกาล “ชินโคไซ”「SHINKOUSAI(神幸祭)」ที่ไม่ควรพลาดเลยก็คือ รถลากขนาดใหญ่ ซึ่งรถลากขนาดใหญ่ของงานเทศกาลนี้จะถูกเลียนแบบมาจากหัวยักษ์ หรือปลาดุกยักษ์ขนาดใหญ่ที่ออกอาละวาดพลิกแผ่นดิน สร้างความตื่นตาให้ผู้คนที่มาเยี่ยมชมงานเป็นอย่างยิ่ง
ในครั้งนี้เราได้พาทุกท่านไปรู้จักกับงานเทศกาลฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นไปทั้งหมด 3 งานเทศกาล
- “เทศกาลทาคายามะ” : 高山祭 (กิฟุ) จัดขึ้นที่ฮิดะทาคายามะ สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของญี่ปุ่น พร้อมชมซากุระ และรถลากที่สวยงามตระการตา
- “เทศกาลอาโออิ” : 葵祭(เกียวโต) สัมผัสบรรยากาศราวกับย้อนเวลาไปในอดีตสมัยเฮอันเมื่อ 1200 ปีก่อน เพื่อเพลิดเพลินกับงานเทศกาลของเหล่าชนชั้นขุนนางของเมืองเกียวโต
- “เทศกาลคันดะ” : 神田祭 (โตเกียว) งานเทศกาลที่ดุเดือดของผู้คนบริเวณคันดะในโตเกียวที่ถูกจัดขึ้น 2 ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
ถึงแม้ว่าแต่ละงานเทศกาลจะเป็น “งานเทศกาลที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของญี่ปุ่น” แต่ก็ให้บรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากงานเทศกาลต่างๆ ที่ได้พูดถึงไปในครั้งนี้แล้วที่ประเทศญี่ปุ่นยังมีงานเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อนในพื้นที่ต่างๆ อีกมากมาย ยังไงทุกท่านก็สามารถวางแผนให้ตรงกับงานเทศกาลต่างๆ เพื่อสัมผัสขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศญี่ปุ่นกันดูได้เลย แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า♪