เรียนรู้คำศัพท์/ประโยคเกี่ยวกับ “เครื่องรางของขลัง”

เรียนรู้คำศัพท์/ประโยคเกี่ยวกับ “เครื่องรางของขลัง”

UP DATE 19.ก.ค.2662

“ศาลเจ้า” หรือ “วัด” หนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาดในการมาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนต่างให้ความเคารพสักการะ นอกจากการเที่ยวชมสถานที่ที่มีความเป็นญี่ปุ่น และสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ก็คงไม่พลาดที่จะตามหา “เครื่องรางของขลัง” ขึ้นชื่อของการมาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น

แต่ในบางศาลเจ้าก็ไม่มีภาษาอังกฤษกำกับว่าเครื่องรางของขลังชนิดนั้นๆ คืออะไรบ้าง และผู้ดูแลส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศอย่างภาษาอังกฤษได้ ดั้งนั้นในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จัก “คำศัทพ์และประโยคญี่ปุ่นในการซื้อเครื่องรางของขลัง” ดังนี้

1.เครื่องรางของขลังมีอะไรบ้าง

2.ลิสต์คำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องราง

3.ตัวอย่างบทสนทนาอย่างง่าย

4.เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “เครื่องราง”

เครื่องรางของขลังมีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันซักหน่อยว่าที่ศาลเจ้า หรือวัด มีอะไรจำหน่ายอยู่ที่สำนักงานศาลเจ้า และวัดกันบ้าง (ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีเรียกหลากหลายแบบ แต่โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่า “จุโยะโชะ:授与所”)

โดยส่วนใหญ่แล้วมีดังนี้

– “เครื่องราง” ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมาโมริ” (お守り:Omamori) มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบผ้า แบบพวงกุญแจ หรือในบางที่อาจมีแบบสติ๊กเกอร์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละศาลเจ้า หรือแต่ละวัด โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น เครื่องรางความสุข เครื่องรางความรัก เครื่องรางการงาน เครื่องรางการเดินทาง ฯลฯ เป็นต้น

“แสตมป์ชุอิน” ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ชุอิน” (御朱印:Shuin) เป็นแสตมป์ประทับตราที่มอบให้แก่ผู้นับถือและผู้มาเยือนศาลเจ้าชินโตและวัดทางพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น แสตมป์ประทับตรามักจะเก็บรวบรวมไว้ในหนังสือที่เรียกว่า ชุอินโจ(Shuin-cho) ที่จำหน่ายอยู่ตามศาลเจ้าหรือวัด

ตัวอย่าง “ชุอินโจ(Shuin-cho)” หรือ สมุดสะสมแสตมป์ชุอิน

“เซียมซี” หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิคุจิ” (おみくじ:Omikuji) การเซียมซีต่อครั้งราคาจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 เยน และมีหลากหลายรูปแบบ โดยศัพท์หรือภาษาที่กำกับอยู่ในใบเซียมซีจะเป็นภาษาที่ยาก แต่เซียมซีญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่จะถูกแบ่งผลออกเป็น 7 ระดับคือ “大吉=โชคดีมาก” / “中吉=โชคดีปานกลาง” / “小吉=โชคดีน้อย” / “吉=มีโชค” / “末吉=โชคน้อย” / “凶=โชคไม่ดี” / “大凶=โชคไม่ดีมาก”

สำหรับผลเซียมซีที่ออกมาไม่ดีสามารถนำกระดาษไปผูกไว้ที่จุดมัดเซียมซีได้เลย หากผลออกมาดีสามารถนำกลับหรือผูกไว้ที่ศาลเจ้าหรือวัดนั้นๆ ได้เช่นกัน

เอมะ

“แผ่นไม้เอมะ” หรือ แผ่นไม้เขียนขอพร ในภาษาญี่ปุ่นรียกว่า “เอมะ” (絵馬:Ema)ใช้สำหรับเขียนขอพรต่างๆ สามารถเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ไปแขวนแผ่นไม้ขอพร “เอมะ” เอาไว้ที่จุดแหวนเอมะได้เลย

โอฟุดะ

“โอฟุดะ” (お札: Ofuda) คล้ายยันต์ที่ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ทั้งแบบกระดาษและแบบไม้ มีให้บูชาที่ “จุโยะโชะ” เช่นกัน

ลิสต์คำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องราง

เครื่องรางเกี่ยวกับ “สุขภาพ และ ความงาม”

健康祈願 = สุขภาพ (อ่านว่า เค็น-โค-คิ-กัน)

延命長寿  = อายุยืนยาว (อ่านว่า เอ็น-เม-โจ-จุ)

安産 = การคลอดลูกอย่างปลอดภัย (อ่านว่า อัน-ซัน)

子授け =  การมีบุตร (อ่านว่า โคะ-อา-ซึ-เกะ)

美守り=  ความงาม ความสวย (อ่านว่า บิ-มา-โม-ริ)

肌 = ผิวพรรณ (อ่านว่า ฮา-ดะ)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “ความรัก”

恋愛運 = ความรัก (อ่านว่า เร็น-ไอ-อุน)

縁結 =  ความรัก หรือการพบคู่ (อ่านว่า เอ็น-มุ-ซุ-บิ)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “เงินทอง”

金運 = เงินทอง (อ่านว่า คิน-อุน)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “การเดินทาง”

交通安全 = การเดินทาง (อ่านว่า โค-ซือ-อัน-เซ็น)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “การเรียน”

学業成就 = การเรียน หรือ การเรียนบรรลุตามผล (อ่านว่า กะ-คุ-เกียว-โจ-จุ)

合格 = ผ่านการคัดเลือก เช่น การสอบเข้า การสอบวัเดระดับความรู้ เป็นต้น (อ่านว่า โก-คา-คุ)

進学 = การเข้าศึกษาต่อ (อ่านว่า ชิน-กา-คุ)

向上 = การพัฒนา (อ่านว่า โค-โจ)

成績向上 = การพัฒนาผลการเรียน หรือคะแนน (อ่านว่า เซ-เซ-กิ-โค-โจ)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “การงาน”

成績向上 =  การพัฒนาผลงาน (อ่านว่า เซ-เซ-กิ-โค-โจ)

向上 = การพัฒนา (อ่านว่า โค-โจ)

仕事 = การงาน (อ่านว่า ชิ-โง-โตะ)

合格 = การผ่านคัดเลือก เช่น การสมัครงาน การประเมินงาน เป็นต้น (อ่านว่า โก-คา-คุ)

商売 = การค้า (อ่านว่า โช-บัย)

発達 = ความเจริญก้าวหน้า (อ่านว่า ฮัต-ตา-ซึ)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “โชคลาภ และ ความสุข”

厄除け = พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ (อ่านว่า ยา-กุ-โย-เกะ)

開運 = โชคลาภ / หมดทุกข์หมดโศก (อ่านว่า ไค-อุน)

幸運 = ความสุข ความโชคดี (อ่านว่า โค-อุน)

幸福 = โชค ลาภ ความสุข (อ่านว่า โค-ฟุ-กุ)

เครื่องรางเกี่ยวกับ “การแข่งขัน”

勝  = ชัยชนะ (โดยรวม ทั้งอาจจะเป็นการค้าขาย หรือการแข่งขันทั่วไป (อ่านว่า คา-จิ)

勝負 = การแข่งขัน (อ่านว่า โช-บุ)

(โดยรวม ทั้งอาจจะเป็นการค้าขาย หรือการแข่งขันทั่วไป)

นอกจากนี้ยังมีเครื่องรางอื่นๆ ที่น่าสนใจและมีให้บูชาเพียงบางศาลเจ้าเท่านั้น

こども = เด็ก (อ่านว่า โค-โด-โมะ)

夢叶う = สมหวังในสิ่งที่ปราถนา (อ่านว่า ยู-เมะ-คา-นา-อุ)

家内安全 = ความครอบอยู่เย็นเป็นสุข (อ่านว่า คะ-นัย-อัน-เซ็น)

ペット = สัตว์เลี้ยง (อ่านว่า เพ็ต-โตะ)

*หากมีกล่องใส่เงินแบบในภาพ ก็สามารถใส่เงินในกล่องเพื่อบูชาเครื่องรางได้เลย

ตัวอย่างประโยค 例文

  • คำถาม: เครื่องรางเกี่ยวกับ XXX คืออันไหน ครับ/ค่ะ

XXXのお守りはどれですか? อ่านว่า “XXX โนะ-โอ-มา-โม-ริ-วะ-โด-เระ-เดส-ก้ะ”

  • คำถาม : เครื่องราง XXX ยังมีอยู่ไหม ครับ/ค่ะ

XXXのお守りはありますか? อ่านว่า “XXX โนะ-โอ-มา-โม-ริ-วะ-อา-ริ-มัส-ก้ะ”

*ใน “XXX” นั้นสามารถใส่คำศัพท์ที่อยู่ในลิสต์คำศัพท์ข้างต้นลงไปได้เลย

ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องรางเกี่ยวกับ “ความรัก” คืออันไหน ครับ/ค่ะ

ภาษาญี่ปุ่น : “縁結” のお守りはどれですか?

คำอ่าน : “เอ็น-มุ-สุ-บิ” โนะ-โอ-มา-โม-ริ-วะ-โด-เระ-เดส-ก้ะ

  • คำตอบในกรณีที่ไม่มี : ありません。อ่านว่า อา-ริ-มา-เซ็น / หรือ ないです。อ่านว่า นัย-เดส
ข้อห้าม

 “ไม่ควร หรือห้ามถ่ายรูปเครื่อรางของขลัง” โดยส่วนใหญ่ศาลเจ้า หรือวัดจะไม่อนุญาติให้ถ่ายเครื่องรางของขลังเพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หากต้องการถ่ายภาพส่งให้เพื่อนหรือครอบครัวเลือก หากไม่มีป้ายห้ามถ่ายรูป ก็อาจถ่ายจากสินค้าตัวอย่างแทน

เกร็ดความรู้วิธีเก็บรักษาเครื่องราง

สำหรับเครื่องรางนั้นแนะนำให้พกติดตัวเอาไว้ ดีกว่าวางไว้ที่บ้าน ซึ่ง “เครื่องรางมีอายุประมาณ 1 ปี” สำหรับเครื่องรางนั้นมีความเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้า และจะต้องเปลี่ยนเครื่องรางใหม่ในทุกๆ ปี จากเครื่องรางที่เสื่อมสภาพ เก่าและเปื้อนไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป โดยสามารถนำเครื่องรางอันเก่าไปคืนที่วัดหรือศาลเจ้าเดิมที่บูชามา คืนด้วยความรู้สึกขอบคุณกับหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น และบูชาเครื่องรางอันใหมืที่มีพลังความศักดิ์สิทธิ์แบบเต็มเปี่ยม แต่หากไม่สามารถไปที่วัดหรือศาลเจ้าเดิมก็สามารถนำไปคืนที่วัดหรือศาลเจ้าอื่นๆ ได้เช่นกัน

ในระหว่างการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นหากได้ไปเที่ยวที่ศาลเจ้าหรือวัดแล้ว ก่อนจะมุ่งตรงไปซื้อเครื่องรางของขลังก็อย่าลืมไปชำระล้างร่างกาย และกราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดและศาลเจ้ากันด้วยนะคะ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และความบริสุทธิ์ใจ ก่อนนำเครื่องรางของขลังที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำที่นั้นๆ ติดตัวกลับไป หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ลองนำไปใช้กันดูนะคะ