นักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี จากในปีพ.ศ.2554 ที่มีนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเพียง 1 แสน 4 หมื่นคนเท่านั้น ก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้าน 1 แสน 3 หมื่นคน นั่นหมายความว่ามีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นถึง 1 ล้านคนใน 7 ปีเลยทีเดียว ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวญี่ปุ่นก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เที่ยวบินต่างๆ จากประเทศไทยก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
แค่เพียงเที่ยวบินที่เชื่อมระหว่าง “กรุงเทพ” ที่มีอยู่ 2 สนามบิน(สนามบินดอนเมือง และ สนามบินสุวรรณภูมิ) กับ “โตเกียว” ที่มีอยู่ 2 สนามบิน(สนามบินฮาเนดะ และ สนามบินนาริตะ) ของสายการบินไทย TG เท่านั้นก็มีเที่ยวบินไปกลับวันละมากถึง 6 รอบเลยทีเดียว ส่วนสายการบินญี่ปุ่น ANA ก็มีเที่ยวบินไปกลับวันละมากถึง 5 รอบ รวมๆ ทั้งหมดแล้วก็ประมาณวันละมากกว่า 20 รอบไปกลับเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศ กรุงเทพ-โตเกียว มีรอบบินมากพอๆ กับเที่ยวบินภายในประเทศไปเชียงใหม่เลยนั่นเอง
โดยเฉพาะสายการบินราคาประหยัดอย่าง “สายการบินแอร์เอเชีย X” “สายการบินนกสกู๊ต” หรือ “สายการบินไทยไลอ้อนแอร์” ที่เมื่อลดราคาแล้วก็อาจจะได้บินไปโตเกียวแบบไปกลับในราคาไม่ถึง 10,000 บาท(รวมภาษี) เลยทีเดียว
จากตอนนี้ไปเป็นจำนวนทั้งหมด 3 ตอน จะเป็นการพูดถึงสายการบินราคาประหยัดที่เชื่อมระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น มาให้คุณได้เปรียบเทียบกันเลย
ในตอนแรกนี้เราจะมาเริ่มจากสายการบินที่มีรอบบินมากที่สุดกับสายการบิน “AirAsia X” กันเลย
โดยมีรอบบินจากกรุงเทพมหานครที่สนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นมากมายทั้งเที่ยวบินไปสู่สนามบินนาริตะในโตเกียววันละ 3 รอบไปกลับ, สนามบินคันไซในโอซาก้าวันละ 2 รอบไปกลับ, นาโกย่าวันละ 1 รอบไปกลับ และสนามบินชินชิโตเซะที่ซัปโปโรวันละ 1 รอบไปกลับ รวมทั้งหมดเป็นวันละ 7 รอบไปกลับ
นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินที่แวะลงกัวลาลัมเปอร์ที่ประเทศมาเลเซียเพื่อบินไปยังสนามบินฮาเนดะในโตเกียว หรือบินไปยังฟุกุโอกะได้อีกด้วย
และที่สำคัญคือแต่ละเที่ยวบินจะใช้เครื่องบินลำใหญ่ A330 ที่มีที่นั่งในแต่ละเที่ยวบินมากถึง 337 ที่นั่งอีกด้วย
โดยการจองตั๋วของสายการบินแอร์เอเชียหลักๆ แล้วสามารถจองผ่านทางเว็บไซต์ของสายการบินได้เลย
วิธีการจองก็ไม่ยากเพียงแค่คุณกรอก “สถานที่ต้นทาง” และ “สถานที่ปลายทาง” จากนั้นก็เลือกวันเดินทางเท่านั้น
ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วราคาตั๋วระหว่างประเทศไทศและประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ที่ราคาไปกลับประมาณ 10,000 บาท แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงลดราคาคุณก็สามารถเดินทางไปกลับประเทศญี่ปุ่นได้ในราคาประมาณ 6,000-7,000 บาทเท่านั้นอีกด้วย
แต่ทว่าในส่วนน้ำหนักในการฝากสัมภาระ อาหารบนเครื่อง หรือการจองที่นั่งก็จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในราคาตั๋วเหมือนกับสายการบินไทย หรือสายการบินญี่ปุ่นแบบปกตินั่นเอง
สำหรับการถือสัมภาระขึ้นเครื่องของสายการบินแอร์เอเชียก็จะต้องมีขนาดไม่เกิน 56x36x23cm +กระเป๋าคอม 1 ชิ้น รวมน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ส่วนสัมภาระที่ต้องการโหลดใต้ท้องเครื่องสามารถซื้อล่วงหน้าได้ตอนซื้อตั๋วเลย หากทำการซื้อน้ำหนักสัมภาระเอาไว้ก่อนราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 800-1200 บาท หากมาจัดการน้ำหนักสัมภาระก่อนเดินทางทันทีก็อาจจะต้องจ่ายค่าน้ำหนักสัมภาระในราคาที่แพงกว่ามากๆ เลยทีเดียว
ซึ่งที่นั่งภายในเครื่องส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็น 3-3-3 รวมเป็น 9 แถว ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะอยู่ที่ 2-4-2 แถวเพราะฉะนั้นช่องทางเดินก็จะแคบกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้หากไม่ได้จองที่นั่งในบางกรณีก็อาจจะถูกจัดที่นั่งอยู่กระจัดกระจายห่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วหากมาเป็นกลุ่มถ้าที่นั่งว่างก็จะได้นั่งด้วยกันเลย แต่สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางคนเดียวก็อาจจะถูกจัดไปนั่งที่นั่งบริเวณตรงกลางเลยนั่นเอง แต่หากต้องเลือกที่นั่งทีหลัง ก็สามารถเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อเลือกที่นั่งใหม่ได้เลย
ภายในเครื่องของ AirAsia X จะไม่มีจอมอนิเตอร์ หรือปลั๊กไฟสำหรับเสียบชาร์ต เพราะฉะนั้นอาจจะต้องดาวน์โหลดหนังลงในมือถือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เอาไว้ดูบนเครื่องแก้เบื่อ เท่านี้การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 6 ขั่วโมงก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
เมนูอาหารต่างๆ ก็มีให้เลือกมากมายในส่วนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ได้ตามความชอบ โดยปกติแล้วอาหารบนเครื่องบินขอบสายการบินปกติก็จะมีให้เลือกประมาณ 2-3 ชนิดเท่านั้น แต่ AirAsia X นี้มีอาหารบนเครื่องให้เลือกมากมายถึงมากกว่า 10 ชนิดเลยทีเดียว โดยเมนูส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 100-200 บาท เป็นราคาที่น่าจะพอรับได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ในสายการบิน AirAsiaX ยังมีที่นั่งในส่วน Bussiness class ราคาประหยัดอยู่อีกจำนวน 12 ที่นั่ง เป็นที่นั่งที่สามารถปรับให้นอนราบได้ 180 องศา เช่นเดียวกับสายการบินไทย หรือสายการบินญี่ปุ่นอีกด้วย
ซึ่งชั้น Bussiness class นี้จะมาพร้อมกับน้ำหนักโหลดสัมภาระ 30 กิโลกรัม พร้อมอาหารบนเครื่องบิน ในราคาเพียง 2-3 หมื่นบาท (ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา) ก็จะได้นั่งแบบสบายมากๆ
ในครั้งนี้เราได้พูดถึงสายการบินที่เชื่อมระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น โดยในตอนแรกเราได้พูดถึง สายการบิน “AirAsiaX” กันไปแล้ว
นอกจากจะเป็นสายการบินที่มีรอบบินไปกลับอยู่ที่ 7 รอบต่อวัน ที่สามารถเดินทางไปยัง ฮาเนดะ, นาริตะ, คันไซ, นาโกย่า(ชูบุ) หรือ ซัปโปโร และนอกจากนี้ ยังใช้ขนาดเครื่องบินที่ใหญ่เทียบเท่าสายการบินทั่วไป ทำให้สามารถนั่งได้อย่างสบาย และมีอาหารบนเครื่องบินที่มีให้เลือกหลากหลายชนิด(เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) โดยหากอยู่ในช่วงลดราคาก็สามารถเดินทางไปกลับประเทศญี่ปุ่นในราคา 6,000-7,000 เยนอีกด้วย ซึ่งเป็นเสน่ห์ของสายการบินที่ค่าเดินทางอยู่ในราคาประหยัดนั่นเอง
ด้วยรอบบินที่มีอยู่มากมาย ท่านจึงสามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายรูปแบบอย่างเช่น
กรุงเทพ- นาริตะ-โตเกียว-ภูเขาไฟฟูจิ-นาโกย่า-กรุงเทพ
หรือ กรุงเทพ-นาโกย่า-ทาคายาม่า-ชิราคาวาโกะ-คานาซาว่า-เกียวโต-โอซาก้า-กรุงเทพ
เป็นต้น
ยังไงลองใช้บริการกันดูได้เลย
ในตอนต่อไปตอนที่ 2 จะเป็นการพูดถึง “สายการบินนกสกู๊ต” ห้ามพลาดเลยทีเดียว แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า♪